Page 65 - โครงการ_Neat
P. 65
- 63 -
5. กระทําเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ซึ่งรวม
แล้วเรียกว่าการเคลื่อนไหว
วัตถุประสงค์ของนิติกรรม
นิติกรรมเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ลักษณะที่บุคคลประสงค์จะให้เกิดหนี้ขึ้น
กฎหมายจึงได้กําหนดเรื่อง วัตถุประสงค์ในการทํานิติกรรมไว้ ซึ่งโดยหลัก
แล้วกฎหมายคงให้ความเคารพในเสรีภาพในการแสดงเจตนา นั่นก็แปลว่า
บุคคลมีเสรีภาพในการทํานิติกรรมใดๆ ก็ได้ แต่ทั้งนี้กฎหมายได้กําหนด
ขอบเขตของนิติกรรม เอาไว้ว่าบุคคลจะสามารถทํานิติกรรมใดๆ ก็ได้เว้นแต่
การกระทําดังต่อไปนี้ที่จะทําให้นิติกรรมมีผลเป็นโมฆะ
1. การนั้นเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย กล่าวคือ บุคคลสามารถจะ นิติ
กรรมนั้นจะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ขายยาเสพติด ขายอาวุธสงคราม
2. การนั้นเป็นการพ้นวิสัย คือ ไม่มีทางที่บุคคลใดๆ จะทําให้การนั้น
สําเร็จได้ เช่น ตกลงจ้างคน มาฝึกให้ลิงสามารถพูดภาษามนุษย์
3. การนั้นขัดต่อความสงบเรียบร้อย กล่าวคือ นิติกรรมนั้นจะก่อให้เกิด
ความวุ่นวายหรือกระทบความสงบของประชาชน เช่น จ้างคนให้มาก่อ
จลาจลประท้วงรัฐบาล
ค ําพิพากษาฎีกาที่ 958/2519 สัญญาที่จําเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่
โจทกเดยม" ที่จะไม่ให้โจทก์แจ้งความดําเนินคดีอาญากับบุตรของจําเลยใน
การที่ทําให้บุตรของโจทก์ตายคดีแพ่งและ ให้ระงับคดีอาญาแผ่นดิน เป็นการ
ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพง พาณิชย์
มาตรา 113 (เดิม) เป็นโมฆะ จําเลยต้องใช้ค่าเสียหายฐานละเมิด