Page 70 - โครงการ_Neat
P. 70
- 68 -
2.นิติกรรมอําพราง หมายถึง การทํานิติกรรมหนึ่งอําพรางอีกนิติกรรมหนึ่ง
กฎหมายให้นํานิติกรรม ที่ถูกอําพรางมาใช้บังคับ ยกตัวอย่างเช่น นายสมชาย
เป็นหนี้นางสมหญิง กลัวว่านางสมหญิงจะยึดเอา เครื่องเพชรประจําตระกูลที่
ตนมีอยู่ไป จึงตกลงกับนายสมศักดิ์ให้ช่วยทําเป็นซื้อเครื่องเพชรชุดดังกล่าว แต่
จริงๆ แล้วนายสมชายแค่ฝากเอาไว้ เช่นนี้ เท่ากับว่านิติกรรมซื้อขายอําพรางนิติ
กรรมฝากทรัพย์ ก็เท่ากับว่าให้เป็นเรื่องของการฝากทรัพย์ นายสมศักดิ์จะคิดว่า
เครื่องเพชรนี้สวยงามดีจึงทึกทักจ่ายเงิน แก่นายสมชายโดยอ้างว่าเป็นการซื้อ
ขายไม่ได้
ค ําพิพากษาฎีกาที่ 950/2525 จําเลยขายที่ดินให้โจทก์ แต่จดทะเบียนจํานอง
เพื่ออําพราง การซื้อขาย สัญญาจํานองเป็นโมฆะตามมาตรา 118 วรรคแรก
(เดิม) สัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นการซื้อขาย เสร็จเด็ดขาด เมื่อไม่ทําเป็นหนังสือ
และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456
3.การสําคัญผิดในสาระสําคัญ อาจพิจารณาได้ดังนี้
1) การสําคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม เช่น นายบุญส่งได้พระนางพญา
มรดกพ่อมา องค์หนึ่ง มีเซียนมาขอเช่าพระ13 เพื่อนําไปประกวด นายบุญส่ง
เข้าใจว่าเช่าพระเหมือนกับเช่าวีซีดี (VCD) คือเช่าไปแล้วก็เอามาคืน จึงให้เช่าไป
ในราคา 300 บาท
ค ําพิพากษาฎีกาที่ 4861/2555 การที่โจทก์ทั้งสามลงลายมือชื่อในคําขอ
ประกันชีวิต มอบให้จําเลยที่ 1 ตัวแทนประกันชีวิตของจําเลยที่ 2 ไปยื่นต่อ
จําเลยที่ 2 เพราะถูกจําเลยที่ 1 หลอกลวง ว่าเป็นการขอต่ออายุกรมธรรม์ประกัน
ชีวิตฉบับเดิม เป็นการแสดงเจตนาทํานิติกรรมโดยสําคัญผิด ในลักษณะของนิติ
กรรม จึง