Page 68 - โครงการ_Neat
P. 68
- 66 -
มาเล่นได้ เพียงแต่นิติกรรมที่เป็นโมฆยะเป็นนิติกรรมที่เปิดช่องให้มีการ
บอกล้างได้ และเมื่อมีการบอกล้างนิติกรรมนั้น ก็เท่ากับเป็นนิติกรรมที่เป็น
โมฆะ ในอีกกรณีคือการให้สัตยาบัน หากมีการให้สัตยาบันนิติกรรมที่เป็น
โมฆี่ยะ นิติกรรมนั้นก็มีผลเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์มาตั้งแต่แรกเริ่ม10 และ
เมื่อกฎหมายกําหนดให้เป็นนิติกรรมที่ สมบูรณ์ ก็เท่ากับว่าไม่เป็นการเปิด
ช่องให้มีการบอกล้างได้อีก ซึ่งระยะเวลาในการบอกล้างหรือให้สัตยาบัน
ในนิติกรรมที่เป็นโมฆยะคือ ระยะเวลา 1 ปีนับแต่เวลาที่รู้ว่าจะบอกล้าง
หรือให้สัตยาบันได้ หรือ 10 ปี นับแต่เมื่อทํานิติกรรม
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเรื่องกำรแสดงเจตนำ เป็นกำรเข้ำท ำนิติกรรม
เรื่องนิติกรรมนั้นเน้นเรื่องการแสดงเจตนาเป็นสําคัญจะเห็นได้จาก
หลักการต่างๆ แสดงเจตนา หลักเสรีภาพในการทําสัญญา เสรีภาพในการ
แสดงเจตนา หรือหลักความศักดิ์สิทธิ์ในการ ดังนั้นจะเห็นว่า นิติกรรมให้
ความสําคัญกับเจตนาจึงมีการกําหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแสดงเจตนา
ได้แก่ ไปจากปกติ ซึ่งกฎหมายจําเป็นต้องเข้ามาคุ้มครองเพื่อให้เกิดความ
ยุติธรรมแก่บุคคลผู้ที่ถูกหลอกลวง
1.เจตนาลวง หมายถึง เจตนาที่แสดงขึ้นมาเพื่อลวงหรือไม่ตรงกับ
เจตนาทของ เช่น นายแดงตั้งใจจะยืมสร้อยคอจากนายดําแต่แสดงเจตนา
เป็นขอซื้อจากนายดํา หากนายดําเข้าใจว่านายแดงขอซื้อจริง ภายหลังนาย
แดงจะมาอ้างว่าตนแสดงเจตนาซื้อขึ้นมาลวง เจตนาในใจจริงคือยืม เพื่อไม่
ยอมจ่ายเงินค่าสร้อยไม่ได้ แต่ทั้งนี้กฎหมายกําหนดให้การแสดงเจตนาลวง
ที่มีผลทําให้นิติกรรมเป็นโมฆะ12 คือกรณีที่อีกฝ่ายหนึ่งจะรู้ด้วย เช่น นาง
สมศรีได้รับเชิญไปงานราตรีแต่ยังไม่มีชุดเครื่องเพชร ไปงาน เงินที่จะซื้อ
เครื่องเพชรชุดใหม่ก็ไม่มี จึงจําเป็นต้องขอยืมเพื่อนแต่จะเอ่ยปากขอยืมนาง