Page 76 - โครงการ_Neat
P. 76
- 74 -
5) การฉ้อฉลทั้งสองฝ่ายต่างฝ่ายต่างไม่มีสิทธิบอกล้างหรือเรียกค่า
สินไหมทดแทน เช่น นายแดงนําพลอยปลอมมาหลอกนายดําว่าเป็นพลอยแท้
เพื่อขอแลกกับแหวนทองของนายดํา โดยที่แหวน บอกล้างหรือเรียกค่า
สินไหมทดแทน วงนั้นก็เป็นแหวนปลอมเหมือนกัน เช่นนี้ ทั้งสองฝ่ายต่างทํา
กลฉ้อฉล ทั้งนายแดงและนายดําไม่มีสิทธิบอกล้างหรือเรียนค่าสินไหม
ทดแทน
6.การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่ การแสดงเจตนาที่ถูกข่มขู่มีผลให้นิติ
กรรมเป็นโมฆี่ยะ โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
1) ต้องขู่ให้เกิดอันตราย หรือให้ร้ายแรงพอที่จะให้ผู้ถูกข่มขู่กลัวถึงขั้น
เข้าทํานิติกรรม ยกตัวอย่างเช่น เอาปืนมาขู่บังคับให้ทําสัญญาซื้อขายรถยนต์
แต่หากข่มขู่แล้วไม่ถึงขนาดร้ายแรง หรืออันตรายพอ ก็ไม่เป็นเหตุให้การ
แสดงเจตนาครั้งนั้นเป็นโมฆยะ ยกตัวอย่างเช่น ข่มขู่ว่าถ้าไม่ซื้อ แหวนเพชร
จะเอาแมลงสาบมาหลอก
2) การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยมไม่ถือเป็นการข่มขู่ ยกตัวอย่างเช่น
นายแดงเป็นหนีนายดํา 300,000 บาท แต่ไม่มีเงินใช้หนี้ นายดําจึงบอกนาย
แดงว่าให้ทําสัญญายกแหวนเพชรใช้หนี้ให้ตนเสีย มิเช่นนั้นคงต้องฟ้องร้อง
ต่อศาล เช่นนี้ เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม เพราะนายดําเป็นเจ้าหนี้
นายแดง จึงมีสิทธิฟ้องนายแดง หากนายแดงไม่ใช้หนี้
ค ําพิพากษาฎีกาที่ 6 7 2 /2 5 1 9 โจทก์ขู่จําเลยว่าจะให้เจ้าพนักงาน
ดําเนินคดีกับจําเลย ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
ฯ เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่ จําเลยสั่งจ่ายชําระหนี้แก่โจทก์