Page 34 - เอกสารฝนหลวง
P. 34
บทคัดย่อสําหรับผู้บริหาร
(EXECUTIVE SUMMARY)
พ.ศ.2498 – 2550
นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
สืบราชสันติวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ทรงเปล่งพระปฐมบรมราชโองการในวัน
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ว่า “เราจะปกครองแผ่นดิน
โดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” เป็นต้นมา ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ
น้อยใหญ่นานัปการตามสัจวาจาที่ทรงให้ไว้ โดยเฉพาะการเสด็จพระราชดําเนินไปเยี่ยมเยือน
ทุกข์สุขของพสกนิกรอย่างถ้วนทั่วและสมํ่าเสมอ โดยไม่ว่างเว้นอย่างทั่วถึงในทุก
ภูมิภาคของประเทศ ด้วยพระอุตสาหะวิริยะและทรงเหน็ดเหนื่อยตรากตรําพระวรกาย
แม้แต่ในท้องถิ่นทุรกันดาร ยากลําบากและเสี่ยงภัยอันตรายอย่างยากที่จะมีผู้ใดเสมอ
เหมือน ทําให้ทรงทราบสภาพปัญหาทุกข์ร้อนลําเค็ญตามความเป็นจริงปราศจากการปรุง
แต่ง จากปากคําของพสกนิกรผู้ยากไร้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ อยู่กัน
อย่างแร้นแค้นตามยถากรรม ขาดความรู้ความเข้าใจที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
ฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาทุกข์ร้อนลําเค็ญใดๆ รอดพ้นจากพระเนตรพระกรรณและ
ความห่วงใยของพระองค์ท่านไปได้
สภาวะแห้งแล้งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทรงพบเห็นในทุกภาคของประเทศ ด้วย
ความถี่และความรุนแรงมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นและแต่ละปี
ทรงใช้ข้อมูลที่ทรงพบเห็นเป็นฐานข้อมูลประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ในการคิดค้น
หามาตรการในการแก้ปัญหาทุกข์ยากได้อย่างถูกต้องตรงประเด็นและสัมฤทธิ์ผลในเวลา
อันรวดเร็ว ปวงชนชาวไทยจึงได้เห็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กระจายอยู่ทุกแห่งหนทั่วราชอาณาจักรจนถึงบัดนี้กว่า 3,000 โครงการ ล้วนแต่เป็ น
โครงการบําบัดทุกข์บํารุงสุขแก่มวลพสกนิกรทั้งสิ้น
ด้วยสายพระเนตรอัจฉริยะอันกว้างไกล ทรงเล็งเห็นว่าปัญหาการขาดแคลน
ทรัพยากรนํ้าอันเนื่องจากภัยแล้ง ที่ทรงพบเห็นมาตั้งแต่เริ่มแรกการเสด็จพระราชดําเนิน
ทรงเยือนราษฎรในภาคต่างๆ ของประเทศจนถึงการเสด็จฯ เยือนอีสานทั้ง 15 จังหวัด
ระหว่างวันที่ 2 – 20 พฤศจิกายน 2498 เป็นมหันตภัยที่ส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน
XXXIII