Page 37 - เอกสารฝนหลวง
P. 37

เมื่อวันที่ 19 – 20  กรกฎาคม  2512  ทรงเลือกนํ้าแข็งแห้ง  (Dry  Ice)  เป็นสาร

                               ทดลองเริ่มต้นโดยโปรยนํ้าแข็งแห้งที่ถูกย่อยเป็นก้อนขนาด 1 ลูกบาศก์นิ้ว ในอัตรา
                               การโปรย 100  กรัม  ในทุก 30 วินาที  เข้าไปในเมฆคิวมูลัสโดยตรงที่ระดับยอดเมฆ

                               ไม่เกิน 10,000 ฟุต  ซึ่งเป็นเมฆเดิมที่ลอยกระจายอยู่ในท้องฟ้าเหนือพื้นที่เป้าหมาย
                               การทดลองปรากฏว่าสัมฤทธิ์ผลตามข้อสมมติฐานที่ทรงคาดหมายไว้  กล่าวคือ

                               ก้อนเมฆที่ได้รับนํ้าแข็งแห้งเข้าไปในเมฆโดยตรง (Direct  Seeding)  เจริญเติบโต

                                 ฐานเมฆใหญ่ขึ้นยอดเมฆสูงและหนาแน่นยิ่งขึ้นจนเป็นสีเทาเข้มทั้งก้อน  โดยเฉพาะ
                               ฐานเมฆเป็นสีเทาเข้มเกือบดําอย่างรวดเร็วภายในเวลาประมาณ  15–30 นาที  และ

                               ลอยตามทิศทางลมไปทางใต้ลมจนไม่สามารถสังเกตจากสนามบินได้ว่ามีฝนตก
                               หรือไม่เพราะยอดเขาบัง   แต่จากการสํารวจทางภาคพื้นดินในวันรุ่งขึ้นพบร่องรอย

                               และได้รับการยืนยันจากชาวบ้านว่ามีฝนตกพอประมาณในพื้นที่เป้าหมายการทดลอง
                               ด้านใต้ลม  นอกจากนั้นยังสังเกตเห็นปรากฏการณ์ที่มิได้คาดหวังไว้ในข้อสมมติฐาน

                               การทดลองครั้งแรกนี้กล่าวคือ สังเกตเห็นเมฆเกิดใหม่สีขาวหรือสีเทาอ่อนในระหว่าง
                               ช่องว่างระหว่างเมฆแล้วถูกชักนําเข้าไปรวมตัวกับเมฆก้อนใหญ่ที่อยู่ใกล้หรือ

                               อยู่ใต้ลมของเมฆที่เกิดใหม่นั้น  สันนิษฐานว่าก้อนนํ้าแข็งแห้งพลาดจากก้อนเมฆ
                               ร่วงหล่นลงมาในช่องว่างระหว่างเมฆ  เมฆก้อนที่เล็กกว่าที่เกิดใหม่ถูกชักนํา

                               เข้าไปรวมตัวกับเมฆก้อนที่ใหญ่กว่า  ทําให้เมฆก้อนที่ใหญ่กว่าเจริญเติบโตเป็น
                               เมฆก้อนที่ใหญ่ยิ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว

                                     เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจปฏิบัติการค้นคว้าทดลองการทําฝนเป็นครั้งแรกแล้ว
                               โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาใช้สนามบินบ่อฝ้าย  อําเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

                               ซึ่งเป็นสนามบินพาณิชย์ตั้งอยู่ติดชายฝั่งทะเล  มีหอบังคับการ ทางบินขึ้นลง
                               อุปกรณ์ควบคุมการบิน  อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากล

                               และทันสมัย  จึงเป็นสนามบินที่ปลอดภัย  โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นฐานปฏิบัติการหลัก
                               ตั้งแต่เดือนสิงหาคม  พ.ศ.  2512  เป็นต้นมา  ทรงวางรากฐานและกรอบให้คณะ

                               ปฏิบัติการฯ สลับสับเปลี่ยนไปตั้งฐานปฏิบัติการ  ณ สนามบินในแต่ละภาคของประเทศ

                               ทุกช่วงสัปดาห์ของแต่ละเดือน และในแต่ละช่วงฤดูกาลต่างๆ กัน เพื่อให้มีโอกาส
                               ปฏิบัติการเหนือพื้นที่เป้าหมายการค้นคว้าทดลองของแต่ละฐานปฏิบัติการฯ

                               ซึ่งมีองค์ประกอบ ทั้งลักษณะภูมิประเทศ  ภูมิอากาศประจําถิ่น  และช่วงฤดูกาลที่
                               แตกต่างกัน   นอกจากนั้นยังทรงกําหนดแนวทางและแบบอย่างการปฏิบัติการ






                                                           XXXVI
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42