Page 41 - เอกสารฝนหลวง
P. 41
หลังจาก พ.ศ. 2516 นอกจากทรงพัฒนาเทคนิคโจมตีแบบ Sandwich และ
เทคนิคการใช้นํ้าแข็งแห้ง ระหว่างพ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2542 ยังทรงพัฒนาประดิษฐ์
คิดค้นเทคนิคเสริม ขั้นตอนกรรมวิธีเทคโนโลยีฝนหลวงให้สัมฤทธิ์ผล และเพิ่ม
ปริมาณฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลได้สูงและแม่นยํายิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา
หลังจาก พ.ศ. 2516 ระหว่าง พ.ศ. 2517 – 2542 นอกจากจะทรงเอาพระทัยใส่
ติดตามผลปฏิบัติการฝนหลวงหวังผลกู้ภัยแล้ง ตามแผนปฏิบัติการฝนหลวงประจําปี
ตามพระบรมราโชบาย และปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้งตามพระราชประสงค์
อย่างต่อเนื่อง ยังทรงประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเทคนิคเสริมขั้นตอนกรรมวิธีใน
การประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวงให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และ
ช่วงฤดูกาลของแต่ละท้องถิ่นที่เป็นเป้าหมายปฏิบัติการที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็น
อุปสรรคและอิทธิพล ทําให้ยากลําบากต่อการปฏิบัติการและการบังคับหรือชักนํา
ฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผล ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลและแม่นยํามากยิ่งขึ้น
เช่น :
เทคนิคการงัดเมฆให้พ้นจากยอดเขา และชักนําให้ฝนตกลงสู่พื้นที่อับฝน
(ซึ่งถูกกําหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการหวังผล) ด้านใต้ลม เทคนิคในการ
ชะลอกลุ่มเมฆฝนเคลื่อนตัวพ้นพื้นที่เป้าหมายซึ่งต้องการฝนให้ช้าลง เทคนิคการ
ขยายอาณาเขตฝนตกสวนทิศทางลม เทคนิคการจูงหรือย้ายกลุ่มเมฆจากพื้นที่
ที่ไม่ต้องการฝนไปยังพื้นที่ที่ต้องการฝน เทคนิคการใช้สารฝนหลวงกลุ่มสูตรร้อน
สลับกับสูตรเย็นกับเมฆภูเขาที่แผ่เป็นพืดปกคลุมหุบเขาของอ่างเก็บนํ้าหรือลุ่มรับนํ้า
หรือพื้นที่ราบนอกหุบเขาเป็นบริเวณกว้างและฐานเมฆตํ่า (Stratiform cloud)
เพื่อให้พืดเมฆเจริญเติบโตและเกิดฝนตกลงสู่ผิวนํ้าของอ่างเก็บนํ้า หรือพื้นที่ราบ
ซึ่งพืดเมฆนั้นปกคลุมอยู่โดยตรง เทคนิคการแหวกเมฆนําร่องเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
เทคนิคการเปิดเมฆหมอกที่แผ่ปกคลุมสนามบินเพื่อช่วยการบินขึ้นลงของเครื่องบิน
เทคนิคการทําลาย หรือยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บหรือพายุฤดูร้อนด้วยเทคโนโลยี
ฝนหลวง เทคนิคการดับไฟป่ าด้วยเทคโนโลยีฝนหลวง การทําลายหมอกควัน
อันเนื่องมาจากไฟป่ า ด้วยเทคโนโลยีฝนหลวง และเทคนิคการทําลายมลภาวะ
ต่อสิ่งแวดล้อม (เช่น นํ้าเน่าในแม่นํ้าลําคลอง) โรคระบาดที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
(เช่น อหิวาตกโรค) และโรคระบาดของศัตรูพืช และสัตว์ เทคนิคการผลักดัน
นํ้าเค็มในฤดูแล้ง เป็นต้น
XL