Page 40 - เอกสารฝนหลวง
P. 40
ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายที่เล็กมากและท้าทายต่อการบังคับและชักนําให้ฝนตกลงสู่
พื้นที่เป้าหมายได้อย่างแม่นยํา ปรากฏว่าทรงสามารถบังคับให้ฝนตกลงสู่ผิวนํ้า
ของอ่างเก็บนํ้าเขื่อนแก่งกระจานได้ภายในเวลาเพียง 5 ชั่วโมง เป็นที่อัศจรรย์
แก่คณะนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ทั้ง 3 นายข้าราชบริพารระดับชาววังผู้ใหญ่
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารระดับสูงที่เฝ้าฯ สังเกตการณ์อยู่
ณ ที่นั้นเป็นที่ประจักษ์
พ.ศ. 2516 เป็นปีที่ทรงประมวลผลสัมฤทธิ์จากปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง
และการปฏิบัติการทําฝนหวังผล และการพัฒนาเทคนิค ตั้งแต่เริ่มแรก พ.ศ. 2512 –
2515 มาประดิษฐ์คิดค้นเป็นเทคโนโลยีฝนหลวงเป็น 3 ขั้นตอนกรรมวิธีอย่างเป็น
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ ก่อกวน – เลี้ยงให้อ้วน – โจมตี เพื่อให้ง่ายต่อ
ความเข้าใจและจดจํา สะดวกในการสื่อสารและถวายรายงาน พระราชทานให้เป็น
เทคโนโลยีและหลักการในการปฏิบัติการทําฝนกู้ภัยแล้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา
นับว่าการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและการประดิษฐ์คิดค้นได้บรรลุผล
ในขั้นตอนการวิจัยแล้ว จนเกิดเป็นนวัตกรรม พระราชทานให้ใช้เป็นเทคโนโลยี
หรือตําราฝนหลวง หรือหลักการเบื้องต้น (Basic Technology) ในการปฏิบัติการ
ฝนหลวงหวังผลกู้ภัยแล้งจนถึงปัจจุบัน แต่ ณ ขณะนั้นได้รับจัดสรรเครื่องบิน
แบบไม่มีระบบปรับความดัน (non–pressurized aircrafts) ซึ่งไม่สามารถบินขึ้นไป
โปรยสารฝนหลวงที่ระดับเกิน 10,000 ฟุต ฉะนั้นการประยุกต์เทคโนโลยีฝนหลวง
จึงถูกจํากัดอยู่ที่ระดับที่เป็นส่วนเมฆอุ่น แต่เป็นส่วนใหญ่ของก้อนเมฆ และช่วยให้
ยอดเมฆเจริญขึ้นถึงระดับเมฆเย็นได้ แต่มีพระราชกระแสตั้งแต่ พ.ศ. 2512 ว่า
การวิจัยและพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุดต้องพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไป ดังนั้น แม้จะบรรลุ
ขั้นตอนการวิจัยในปี พ.ศ. 2516 แล้ว แต่ยังทรงประดิษฐ์คิดค้นเพื่อพัฒนาเทคนิค
เสริมขั้นตอนการโจมตีให้สัมฤทธิ์ผลและแม่นยํายิ่งขึ้น เช่น ทรงประดิษฐ์คิดค้น
เทคนิคการโจมตีให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผล ได้อย่างแม่นยํา และเพิ่มปริมาณ
ฝนสูงยิ่งขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อเทคนิคการโจมตีนี้ว่า Sandwich Technic
และเทคนิคเสริมขั้นตอนการโจมตีโดยการโปรยเกล็ดนํ้าแข็งแห้งใต้ฐานเมฆแก่จัด
ประมาณ 1,000 ฟุต ช่วยให้ฐานเมฆตํ่าลงและฝนตกถึงพื้นดินและปริมาณสูงยิ่งขึ้น
เป็นต้น และโปรดเกล้าฯ ให้นักวิชาการฝนหลวงในรุ่นหลังถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง
XXXIX