Page 35 - เอกสารฝนหลวง
P. 35
และชีวิตความเป็นอยู่ของพสกนิกรโดยตรงในวงกว้าง โดยเฉพาะเกษตรกรและ
ชาวชนบทผู้ยากไร้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดารในทุกภาคของประเทศ
ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชาติโดยรวม ทรงคาดหมายว่า
สภาวะแห้งแล้งจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในทุกภาคส่วนของประเทศ อันเนื่องมาจาก
การคลาดเคลื่อนผันแปรของภูมิอากาศและฤดูกาล การตัดไม้ทําลายป่ าเพื่อขยาย
พื้นที่เกษตรกรรม การขยายอาณาเขตเมืองและนครใหญ่ การขยายตัวของนิคม
และเมืองอุตสาหกรรม การขยายตัวของประชากรทั้งในเมืองและชนบท ความต้องการ
ใช้นํ้าที่ทวีขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต ทรงเห็นว่าเป็นปัญหาสําคัญและเร่งด่วน
ที่ต้องค้นหามาตรการในการแก้ไขทั้งปัญหาเฉพาะหน้า และเตรียมพร้อมไว้รองรับ
เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะวิกฤติ อันเนื่องจากภัยแล้งในอนาคตตามที่ทรงคาดหมายไว้
(ซึ่งเกิดขึ้นจริงในภายหลังไม่นาน) ก่อนที่จะสายเกินไปจนสุดที่จะเยียวยา
โครงการฝนหลวงเป็นโครงการที่แตกต่างจากโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริอื่นๆ เป็นโครงการในพระองค์โดยแท้ กล่าวคือเป็นโครงการที่เกิดจาก
ประกายความคิดที่เป็ นมาตรการในการแก้ปัญหาได้อย่างฉับพลัน ณ ขณะนั้น
ทันทีที่เสด็จฯ กลับจากการเยือน 15 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือถึง
กรุงเทพมหานคร ทรงลงมือขยายผลจากประกายความคิดนั้นให้เกิดความเป็นไปได้
ในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ระหว่างรอความพร้อมที่จะลงมือปฏิบัติการค้นคว้า
ทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก ไม่ทรงปล่อยให้เวลาสูญเปล่า ทรงทบทวน วิเคราะห์
วิจัยจากเอกสารอ้างอิง และตําราทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการดัดแปรสภาพอากาศ
ให้เกิดฝนหรือนํ้าฟ้า รวมทั้งข้อมูลและข้อสังเกตที่ทรงบันทึกไว้ในระหว่างการ
เสด็จพระราชดําเนินทรงเยี่ยมราษฎรในปีก่อนๆ ซึ่งทรงคาดหมายว่ามีอิทธิพลต่อ
การเกิดฝน จนทรงมั่นพระทัยและเชื่อมั่นในความเป็นไปได้ และทรงตั้งเป็นข้อ
สมมติฐานที่คาดหวังผลสัมฤทธิ์ไว้อย่างชัดเจน พร้อมที่จะลงมือปฏิบัติการค้นคว้า
ทดลองในท้องฟ้าเพื่อหาคําตอบได้ทุกขณะ เมื่อการเตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว
จุดเริ่มต้นโครงการฝนหลวงที่ทรงบันทึกไว้ในพระราชบันทึก THE
RAINMAKING STORY พระราชทานให้เป็นเอกสารอ้างอิง ว่าระหว่างที่เสด็จ
พระราชดําเนินด้วยพระราชพาหนะรถยนต์ Delahay Sedan สีเขียว ในช่วงวันที่
2 – 20 พฤศจิกายน 2498 ณ วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2498 ขณะที่เสด็จ
พระราชดําเนินจากนครพนมไปกาฬสินธุ์ ผ่านเทือกเขาภูพานและจังหวัดสกลนคร
XXXIV