Page 39 - เอกสารฝนหลวง
P. 39
พระราชฐานไปประทับอยู่จึงเรียกกันว่า คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษเคลื่อนที่
เร็วติดตามพระองค์ ดังนั้นนับแต่ พ.ศ. 2514 เป็นต้นไปจึงเป็นการปฏิบัติการทํา
ฝนหวังผลกู้ภัยแล้งตามการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ควบคู่กับการปฏิบัติการค้นคว้า
ทดลองเพื่อพัฒนาเทคนิคให้การประยุกต์เทคโนโลยีสัมฤทธิ์ผลและฝนตกลงสู่พื้นที่
เป้าหมายหวังผลที่กําหนดแม่นยํายิ่งขึ้น และคู่ขนานไปกับการพัฒนาสารฝนหลวง
เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการทางวิชาการในแต่ละขั้นตอนกรรมวิธีของ
เทคนิคการทําฝน
กิตติศัพท์ความสําเร็จในการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองการทําฝนในประเทศไทย
อย่างเอาจริงเอาจัง ก้าวหน้าต่อเนื่องเป็นระบบ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
อย่างสัมฤทธิ์ผล เป็นที่รับรู้ของกลุ่มประเทศที่มีกิจกรรมด้านการดัดแปรสภาพอากาศ
และกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกเริ่มมีบางประเทศติดต่อขอรับ
การถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ หรือแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
มากขึ้น
ประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน เป็นประเทศแรก
ที่รัฐบาลขอส่งนักวิทยาศาสตร์ 3 นาย เข้ามาสังเกตการณ์การปฏิบัติการทําฝนหวังผล
และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ณ ขณะนั้นเป็นประเทศแรก เนื่องจากประเทศ
สิงคโปร์เกิดสภาวะวิกฤติเนื่องจากภัยแล้ง ปริมาณนํ้าเก็บกักในเขื่อนหรืออ่างเก็บนํ้า
สําคัญของประเทศตํ่าจนน่าวิตก นํ้าไม่พอในการผลิตกระแสไฟฟ้าการเพาะปลูก
และในการอุปโภคและบริโภค ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับบัญชาการ
ปฏิบัติการสาธิตการทําฝนด้วยพระองค์เอง โดยทรงกําหนดให้วันที่ 19 ตุลาคม 2515
เป็นวันปฏิบัติการสาธิต และทรงเลือกลุ่มรับนํ้าเขื่อนแก่งกระจานเป็นพื้นที่เป้าหมาย
ปฏิบัติการฯ สาธิต ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับเกาะสิงคโปร์ และมีขนาดพื้นที่เป้าหมาย
ปฏิบัติการประมาณ 2,915 ตารางกิโลเมตร แต่วันปฏิบัติการฯ สาธิต ทรงกําหนดให้
พื้นผิวนํ้าของอ่างเก็บนํ้าของเขื่อน แก่งกระจานซึ่งมีพื้นที่ผิวเพียง 46.5 ตารางกิโลเมตร
เป็นพื้นที่เป้าหมายหวังผล โปรดเกล้าฯ ให้คณะปฏิบัติการทําฝนสาธิตตั้งฐาน
ปฏิบัติการ ณ ท่าอากาศยานหัวหินและเสด็จมาบัญชาการการปฏิบัติการ
ด้วยพระองค์เอง ณ สันเขื่อนแก่งกระจาน โปรดเกล้าฯ ให้นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์
ขึ้นไปเฝ้าฯ สังเกตการณ์สาธิตและทรงพระกรุณาอธิบาย และถ่ายทอดขั้นตอนกรรมวิธี
ในการปฏิบัติการทําฝนสาธิตอย่างถี่ถ้วน พื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการหวังผลสาธิต
XXXVIII