Page 44 - เอกสารฝนหลวง
P. 44

ขอจดสิทธิบัตรฝนหลวงไว้แล้ว เช่น สํานักสิทธิบัตรแห่งสหรัฐ ซึ่งได้รับการ

                               คุ้มครองสิทธิ์ในระหว่างการรอขั้นตอนกระบวนการสืบค้น  ค้นหาและตรวจสอบ
                               ไปพลางก่อน  ตลอดจนกลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกรวม

                               187 ประเทศ กลุ่มสมาชิกประเทศขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
                               ซึ่งมีรวม 181 ประเทศ  รวมทั้งประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติทั่วโลก

                               สมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติ (IFIA)  ซึ่งมีสมาชิก 184  ประเทศทั่วโลกและ

                               สมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์เกาหลีใต้ (KIPA)
                                     ฉะนั้นการจดสิทธิบัตรฝนหลวง  ทั้งในและต่างประเทศเป็นการเผยแพร่

                               พระเกียรติคุณไปทั่วโลกโดยปริยาย  นับเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกและ
                               พระองค์เดียวในโลกที่ทรงได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว   “เทคโนโลยีฝนหลวง”  จึงเป็น

                               ที่ยอมรับและรับรู้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์  และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับด้านการดัดแปร
                               สภาพอากาศ ในระดับสหประชาชาติ ระดับโลก  ระดับภูมิภาค  ระดับประเทศ

                               ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐ  ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลอันยอดเยี่ยม
                               ประกาศนียบัตร  ประกาศพระกิตติคุณในพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถ

                               และสัญลักษณ์เชิดชูพระเกียรติ จากองค์กรนานาชาติดังกล่าว  ในฐานะที่ทรงเป็น
                               นักประดิษฐ์คิดค้น เทคโนโลยีฝนหลวงเป็ นนวัตกรรมใหม่  แนวคิดใหม่  และ

                               ทฤษฎีใหม่อันเป็นประโยชน์อย่างอเนกอนันต์ต่อการพัฒนาประเทศ   และยังไม่มี
                               ผู้ใดประดิษฐ์คิดค้นมาก่อนเลยในโลก

                                     ฝนหลวง มีวิวัฒนาการทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และวิวัฒนาการ

                               ด้านการปฏิบัติการ  ตามเทคนิคและเทคโนโลยีซึ่งพัฒนาก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง
                               ยาวนานและสัมฤทธิ์ผลตั้งแต่เริ่มแรกโครงการจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)  ความสําเร็จ

                               ในการปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง  ควบคู่กับการปฏิบัติการหวังผลช่วยเหลือราษฎร
                               และการพัฒนาเทคนิคเพื่อให้การประยุกต์เทคโนโลยีสัมฤทธิ์ผลและแม่นยํายิ่งขึ้น

                               ได้รับการเผยแพร่สู่การรับรู้และยอมรับทั้งในประเทศ  และนานาชาติเพิ่มมากขึ้น
                               ตามลําดับ ดังกล่าว   พ.ศ. 2515  สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ติดต่อขอส่งนักวิทยาศาสตร์

                               จํานวน 3 นาย เข้ามาในประเทศไทยเพื่อขอสังเกตการณ์และดูงานด้านกิจกรรมทําฝน
                               และขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญ  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                               ทรงพระกรุณารับเป็นองค์บัญชาการถ่ายทอดเทคโนโลยี  โดยการปฏิบัติการสาธิต

                               ด้วยพระองค์เองโดยโปรดเกล้าฯ กําหนดให้ วันที่ 19 ตุลาคม 2515 เป็นวันสาธิต





                                                            XLIII
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49