Page 43 - เอกสารฝนหลวง
P. 43
ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (ที่ส่วนเมฆเย็นที่ระดับเย็นยิ่งยวด -8 C ถึง 12 C) และการโจมตี
๐
๐
ด้วย Super Sandwich Technic ทั้งในเมฆอุ่นและในเมฆเย็นพร้อมกัน
ทรงประดิษฐ์เป็นการ์ตูน (แผนภาพ) ประมวลขั้นตอนกรรมวิธีเทคโนโลยี
ฝนหลวง ทั้ง 6 ขั้นตอนจากขั้นตอนที่ 1 จนถึงขั้นตอนที่ 6 ไว้ในเพียง 1 หน้ากระดาษ
พระราชทานให้นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นตําราหรือเทคโนโลยีฝนหลวงปัจจุบัน
โปรดเกล้าฯ ให้ย่อส่วนแผนภาพดังกล่าวสําหรับพกพาติดตัว และเพื่อเตือนความจํา
นักวิชาการและนักบินฝนหลวงให้ปฏิบัติตามขั้นตอนกรรมวิธีอย่างครบถ้วนและ
สัมฤทธิ์ผล
ทรงเล็งเห็นความสําคัญของการจดสิทธิบัตร เพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี
ฝนหลวงเป็นของประเทศไทย ของคนไทย คนไทยคิดเอง และทําเอง เป็นของ คนไทย
และป้องกันมิให้มีการลอกเลียนและ ฉกฉวยโอกาสนําไปขอจดสิทธิบัตรเป็นของ
ประเทศตนเองก่อน เพื่อยืนยันว่าเทคโนโลยีฝนหลวงมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน
กว่าประเทศใดในโลก ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัย
แห่งชาติ ดําเนินการจดสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยทั้งในประเทศและต่างประเทศ
จนสํานักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทยได้ทูลเกล้าฯ ถวาย
สิทธิบัตร “การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545
สํานักสิทธิบัตรแห่งสหภาพยุโรปได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตร Weather
Modification By Royal Rainmaking Technology เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2548
ซึ่งคุ้มครองสิทธิในกลุ่มประเทศสมาชิกแห่งสหภาพยุโรป รวม 30 ประเทศ และใน
จํานวนนั้นมี 10 ประเทศได้ออกสิทธิบัตรของตนเองเพื่อยืนยันให้ด้วย และสํานักงาน
สิทธิบัตรแห่งเขตปกครองพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทูลเกล้าฯ
ถวายสิทธิบัตรภายใต้ชื่อเดียวกันเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2549
การยื่นคําขอจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อสํานักงานสิทธิบัตรทั้งในและ
ต่างประเทศดังกล่าว ต่างมีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบสืบค้นและค้นหา
กับสํานักสิทธิบัตรทั่วโลกว่า มีการจดทะเบียนซํ้าซ้อนหรือไม่ หรือมีการจดสิทธิบัตร
มาก่อนหรือไม่ เป็นนวัตกรรมใหม่ และเป็นแนวคิดใหม่หรือไม่ ฉะนั้นสิทธิบัตร
ฝนหลวงที่ได้รับจากสํานักสิทธิบัตรในประเทศ หรือ ต่างประเทศ ได้ผ่านขั้นตอน
และกระบวนการสืบค้นอย่างเข้มข้น ฉะนั้นสิทธิบัตรฝนหลวงจึงได้รับการเผยแพร่
สู่การรับรู้ของสํานักสิทธิบัตรทั่วโลกโดยปริยาย รวมทั้งสิทธิบัตรที่ได้รับการ
XLII