Page 36 - เอกสารฝนหลวง
P. 36
เพื่อทรงไปยังจุดนัดพบกับราษฎรที่มารอเฝ้ารับเสด็จอย่างเป็นทางการ ณ สี่แยก
กุฉินารายน์ กับสหัสขันธ์ ตามเส้นทางเสด็จพระราชดําเนินมา ทรงสังเกตเห็น
ฝุ่นละอองฟุ้งกระจายคละคลุ้งไปหมดคล้ายกับทะเลทราย ทรงคิดว่าพืชผลของ
ราษฎรคงเสียหายเพราะความแห้งแล้ง เมื่อถึงจุดนัดพบทรงสอบถามราษฎร
กลับตอบว่าพวกเขาเดือดร้อนเสียหายเพราะนํ้าท่วม ทรงตระหนักว่าแท้ที่จริงแล้ว
ราษฎรเหล่านั้นต้องเผชิญกับปัญหาเดือดร้อนทั้งนํ้าท่วม และฝนแล้ง เมื่อนํ้ามามาก
ก็ท่วมพื้นที่ เมื่อนํ้าหยุดท่วมฝนก็แล้ง ทรงเข้าใจทันทีว่าทําไมราษฎรในภาคอีสาน
จึงยากจนนัก ซึ่งเป็นปัญหาที่ขัดแย้งกันในตัวเองและดูเหมือนว่ายากที่จะหาวิธีแก้ไข
แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพ และพระสติปัญญาอันเป็นเลิศของพระองค์ท่านทรงเกิด
ประกายความคิดอย่างฉับพลัน ณ ขณะนั้น ที่เป็นมาตรการทั้งแก้ปัญหานํ้าท่วม
และกู้ภัยแล้ง
1. ต้องสร้างฝายนํ้าล้น (check dams) ขนาดเล็กจํานวนมาก ขวางทางนํ้า
หรือลําธารจะช่วยป้องกันหรือชะลอความรุนแรงกระแสนํ้าที่ไหลบ่าจากภูเขา
ลงมาท่วมหมู่บ้านที่ปลูกอยู่เชิงเขาและตามข้างลําธารอย่างฉับพลันไม่ทันตั้งตัวทําให้
เดือดร้อนเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และที่อยู่อาศัยพังทลาย ถ้าเป็นไปได้ควร
สร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บนํ้าขนาดเล็กจํานวนมาก นอกจากนั้นวิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหา
แห้งแล้งได้ทางหนึ่ง คือนํ้าที่ถูกเก็บกักไว้ในฝาย เขื่อน หรืออ่างเก็บนํ้าดังกล่าว
ช่วยให้มีนํ้าอุปโภคบริโภคสร้างความชุ่มชื้นและการเจริญเติบโตของป่ าไม้
บนภูเขาเหล่านั้นในฤดูแล้งปีถัดไปอีกด้วย
2. ขณะเดียวกันนั้น ทรงแหงนขึ้นดูท้องฟ้า ทรงพบว่ามีเมฆจํานวนมาก
แต่เมฆเหล่านั้นถูกพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้อยู่ที่ว่าจะทําอย่างไรที่จะทําให้
เมฆเหล่านั้นรวมตัวตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ทรงบันทึกไว้ในพระราชบันทึก
THE RAINMAKING STORY ว่า ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฝนเทียม
(ปัจจุบันเรียกอย่างเป็นทางราชการตามมติคณะรัฐมนตรีว่า โครงการฝนหลวง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา) ซึ่งประสบความสําเร็จไม่นานในภายหลัง
การปฏิบัติการค้นคว้าทดลองการทําฝนในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก โปรดเกล้าฯ
ให้ใช้สนามบินหนองตะกู ตั้งอยู่ในพื้นที่วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อําเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา เป็นฐานปฏิบัติการ ซึ่งทรงกําหนดให้อาณาเขตของ
วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นพื้นที่เป้าหมายปฏิบัติการค้นคว้าทดลองการทําฝน
XXXV