Page 29 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 29

๒๐




              เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความคลองตัวในการบริหารประเทศ หรืออาจจะมอบอํานาจใหองคการ
              บริหารสวนทองถิ่น เพื่อใหสามารถออกกฎหมายมาใชในการบริหารราชการในทองถิ่นของตนได

              นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการปฏิวัติหรือรัฐประหารเพื่อยึดอํานาจในการปกครองประเทศ อํานาจในการจัดทํา
              กฎหมายซึ่งเคยเปนของฝายนิติบัญญัติ หรือผูซึ่งฝายนิติบัญญัติมอบหมายใหมีอํานาจออกกฎหมายได

              ยอมตกอยูกับคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารที่รวบอํานาจการปกครองแผนดินอยูในขณะนั้นๆ เนื่องจาก
              ในภาวะเชนนั้น ตองถือวาคณะปฏิวัติหรือรัฐประหารอยูในฐานะรัฏฐาธิปตย ดังนั้น คําสั่งหรือขอบังคับ

              ตางๆ ที่คณะบุคคลดังกลาวประสงคจะใหเปนกฎหมาย ยอมมีผลใชบังคับเปนกฎหมายได
                          ในการศึกษาเรื่องการจัดทํากฎหมายลายลักษณอักษรนี้ จึงไดพิจารณาโดยแบงประเภท

              การจัดทํากฎหมายออกเปนการจัดทํากฎหมายลายลักษณอักษรในกรณีปกติ และการจัดทํากฎหมาย
              ลายลักษณอักษรในกรณีพิเศษ ดังนี้

                          ¡ÒèѴทํา¡®ËÁÒÂÅÒÂÅѡɳÍÑ¡ÉÃ
                          กฎหมายลายลักษณอักษรที่ออกมาใชบังคับนี้ อาจจะออกโดยอาศัยอํานาจจากองคกร

              ที่ตางกัน ดังกลาวมาแลว ดังนั้น หากจะแบงกฎหมายลายลักษณอักษรออกเปนประเภทตามการ

              จัดทําโดยใชเกณฑองคกรที่มีอํานาจออกกฎหมาย กฎหมายลายลักษณอักษรสามารถแบงออกเปน
              ประเภทใหญๆ ได ๓ ประเภท ดังนี้
                          ๑.  กฎหมายลายลักษณอักษรที่ออกโดยฝายนิติบัญญัติ ไดแก

                             ๑.๑  รัฐธรรมนูญ

                             ๑.๒  พระราชบัญญัติ
                             ๑.๓  ประมวลกฎหมาย

                             ๑.๔  กฎมนเทียรบาล
                          ๒.  กฎหมายลายลักษณอักษรที่ออกโดยฝายบริหาร ไดแก

                             ๒.๑  พระราชกําหนด
                             ๒.๒  พระราชกฤษฎีกา

                             ๒.๓  กฎกระทรวง
                          ๓.  กฎหมายลายลักษณอักษรที่ออกโดยองคการบริหารสวนทองถิ่น ไดแก

                             ๓.๑  ขอบัญญัติจังหวัด
                             ๓.๒  เทศบัญญัติ

                             ๓.๓  ขอบังคับตําบล
                             ๓.๔  ขอบัญญัติกรุงเทพมหานคร

                             ๓.๕  ขอบัญญัติเมืองพัทยา
                          ดังที่จะไดอธิบายถึงลักษณะและขั้นตอนในการจัดทํากฎหมายแตละประเภท ดังตอไปนี้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34