Page 36 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 36
๒๗
๓. การตีความโดยนักนิติศาสตร นักนิติศาสตรคือบุคคลที่เขียนคําอธิบายบทบัญญัติ
ของกฎหมายตางๆ พรอมทั้งใหความเห็นหรือตีความบทกฎหมายนั้นๆ วาควรจะเปนอยางไร
จึงจะถูกตองและใหความยุติธรรมมากที่สุด การตีความของนักนิติศาสตรถือวามีประโยชน เนื่องจาก
ชวยใหบุคคลสามัญสามารถเขาใจกฎหมายไดดีขึ้น และชวยเหลือการพิจารณาของศาลและชวยเหลือ
ผูบัญญัติกฎหมายใหรูวาบทบัญญัติใดมีขอบกพรองควรแกไขเปลี่ยนแปลงหรือไมอยางไร
ËÅѡࡳ±ã¹¡ÒÃμÕ¤ÇÒÁ¡®ËÁÒ โดยทั่วไปการตีความกฎหมายอาจกระทําได ๒ ประเภท
คือ
๑. โดยการออกกฎหมาย เพื่อตีความ อธิบายหรือกําหนดความหมายที่แนนอนของ
ถอยคําบางคําซึ่งยังคลุมเครือไมแนนอนใหมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น กรณีนี้ไดแก มีการออกกฎหมาย
มาใชในตอนแรก แลวมีขอความหรือถอยคําบางตอนไมชัดเจน หรือทําใหอาจแปลความหมายผิด ผิดไป
จากเจตนารมณของผูบัญญัติกฎหมายได ดังนั้นเพื่อแกไขขอบกพรองดังกลาวตองมีการออกกฎหมาย
อีกฉบับหนึ่งเพื่ออธิบายหรือใหความหมายที่ชัดเจนแกไขจุดนั้นและกฎหมายที่ออกมาจะบัญญัติใหมี
ผลยอนหลังไปจนกระทั่งวันเริ่มใชบังคับกฎหมายฉบับแรกดวย เพื่อตัดปญหาความยุงยากไมใหเกิด
ความลักลั่นกัน
๒. การตีความกฎหมายโดยอาศัยหลักวิชา โดยหลักแลวใหตีความตามตัวอักษรกอน
หากยังมีขอถกเถียงกันในเรื่องความหมายที่แทจริงของตัวบทกฎหมายนั้นอยู ก็ใหตีความตาม
ความมุงหมายแหงบทบัญญัติตอไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งสรุปการตีความกฎหมายตามหลักวิชามีหลัก
๒ ประการ คือ
๒.๑ การตีความตามตัวอักษร หมายถึง การแปลความหมายของกฎหมายจากตัว
หนังสือที่บัญญัติไวในตัวบทกฎหมายนั้นๆ ซึ่งมีหลักที่ควรคํานึงไดแก
๒.๑.๑ ในกรณีที่กฎหมายใชภาษาสามัญ ก็ใหเขาใจตามความหมายสามัญที่
ใชกันอยูโดยทั่วไปหรือใหถือตามพจนานุกรม เชน คําพิพากษาศาลฎีกา ๗๙/๒๕๐๙ พระราชบัญญัติ
ปาไม มาตรา ๔๐ บัญญัติหามมิใหผูใดนําไมหรือของปาผานดานปาไม ในระหวางเวลาตั้งแต
พระอาทิตยตกถึงเวลาพระอาทิตยขึ้น เวนแตจะไดรับอนุญาต แตพระราชบัญญัติปาไมฯ ไมไดวิเคราะห
ศัพทคําวา “ผาน” ก็ตองตีความตามความหมายธรรมดา (ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
ซึ่งหมายถึงกิริยาที่ลวงพนไป ตัดไป ลัดไปหรือขามไป ฉะนั้นเมื่อคดีไดความวาจําเลยเพียงแตนําไม
เขามาในเขตปาไมจะแปลวาจําเลยไดนําไมผานปาไมไมได จําเลยไมมีความผิดตามมาตรา ๔๑
๒.๑.๒ ในกรณีที่กฎหมายใชศัพทวิชาการหรือศัพทเทคนิคไมวาจะเปนทาง
วิชาชีพใดก็ตามใหถือตามความหมายอยางที่เปนที่เขาใจกันในสาขาวิชานั้นๆ เชน กฎหมายที่เกี่ยวกับ
เรื่องวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีสมัยใหมตางๆ หากมีการใชถอยคําหรือศัพทเทคนิคบางประการก็ตอง
ถือตามความหมายซึ่งเปนที่เขาใจกันในหมูผูประกอบวิชาชีพนั้น เชนคําวา “เคมี” “ธาตุ” “กรด” เปนตน