Page 37 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 37

๒๘




                                   ๒.๑.๓  ในกรณีที่กฎหมายประสงคจะใชขอบัญญัติใดมีความหมายพิเศษ
              ตางไปจากที่เขาใจกันตามธรรมดาสามัญ กฎหมายจะทําบทวิเคราะหศัพท นิยามหรือคําอธิบายปรากฏ

              อยูในมาตราแรกๆ ของกฎหมายนั้นเพื่อใหรูความหมายและเขาใจตรงกันกอนที่จะอานบทมาตราอื่นๆ
              ตอไป การตีความจะตองถือความหมายตามที่กฎหมายบัญญัติ เชนคําวา กลางคืน ตามประมวล
              กฎหมายอาญามาตรา ๑(๑๑) หมายความวา เวลาระหวางพระอาทิตยตกและพระอาทิตยขึ้น เปนตน
                                   กรณีที่ตัวบทกฎหมายภาษาไทยไมชัดเจน ใหดูตัวบทภาษาอังกฤษประกอบดวย

              ซึ่งอาจจะไดความหมายที่ชัดเจนขึ้น
                             ๒.๒  การตีความตามความมุงหมายหรือเจตนารมณ หมายถึง การแปลความหมาย

              จากเจตนารมณของผูบัญญัติกฎหมายวามีเจตนาที่แทจริงในการบัญญัติกฎหมายอยางไร สิ่งที่
              จะชวยคนหาเจตนารมณของผูบัญญัติกฎหมายไดแก
                                   ๒.๒.๑  ชื่อของกฎหมาย จะชวยบอกใหเราทราบไดวากฎหมายฉบับนี้จะวา
              ดวยเรื่องอะไร อยางไรบาง

                                   ๒.๒.๒  คําขึ้นตนของกฎหมายนั้น ไมวาจะเปนพระราชปรารภ หรือคําปรารภ
              มักจะแสดงเหตุความเปนมาของกฎหมายฉบับนั้นไว เชน พระราชปรารถนาในกรณีการประกาศใช

              รัฐธรรมนูญ จะกลาวถึงประวัติความเปนมาของรัฐธรรมนูญนั้นไวอยางละเอียด
                                   ๒.๒.๓  หมายเหตุทายกฎหมาย คือ ขอความที่พิมพอยูตอนทายของกฎหมาย
              ขณะลงพิมพในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะแสดงหลักการและเหตุผลวา เหตุใดจึงตองมีกฎหมายฉบับนี้ขึ้น
                                   ๒.๒.๔  การพิจารณามาตราตางๆ ในกฎหมายฉบับนี้ประกอบกันหรือพิจารณา

              กฎหมายอื่นในเรื่องที่คลายคลึงกันหลายๆ ฉบับประกอบกัน
                                   ๒.๒.๕  พิจารณาสภาพการณเปนไปกอนหรือขณะที่กฎหมายฉบับนั้นใชบังคับ

              การพิจารณาในขอนี้เปนการมองไปนอกตัวบทกฎหมาย คือ ดูจากขาวหนังสือพิมพบาง คําพิพากษาศาล
              หรือบทความทางวิชาการบาง
                                   ๒.๒.๖  รายงานการประชุมในการยกรางหรือพิจารณากฎหมายนั้น ก็เปน
              แนวทางชวยในการแสวงหาเจตนารมณของกฎหมายได

                                   นอกจากตีความตัวอักษรและการตีความเจตนาแลว การตีความกฎหมาย
              ยังควรยึดหลักเกณฑ ๒ ประการตอไปนี้คือ

                                   ๑.  การตีความกฎหมายนั้นจะตองถือหลักวา จะตองตีความใหกฎหมาย
              มีผลบังคับได ไมใชตีความเพื่อใหกฎหมายสิ้นผลบังคับ
                                   ๒.  บทกฎหมายที่จํากัดตัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล จะตองตีความอยางเครงครัด

              เพราะเปนขอยกเวนของหลักทั่วๆ ไป ที่ตองถือวาทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ เชน ตามประมวลกฎหมายแพง
              และพาณิชย มาตรา ๑๕๖๒ หามมิใหบุคคลยื่นฟองบุพการีของตน เรียกวา “คดีอุทลุม” ซึ่งเปนขอจํากัด
              การใชสิทธิทางศาลประการหนึ่ง ขอหามนี้ตองตีความโดยเครงครัดตองหมายถึงบุพการี คือ ผูที่ทําการ

              อุปการะมากอน ไดแก บิดา มารดา เปนตน รวมถึงปู ยา ตา ยาย และทวด จะตองมีความสัมพันธใน
              ฐานะนิตินัยที่ชอบดวยกฎหมายเชนเดียวกัน (ฎีกาที่ ๕๔๗/๒๕๔๘)
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42