Page 97 - 08_กฎหมายอาญา_Neat
P. 97

๘๔




              เจาพนักงานโดยใชอาวุธ ศาลฎีกาวินิจฉัยวา ในขณะที่ผูเสียหายกับพวกเขาไปจับกุมจําเลยกับพวกนั้น
              แมวาผูเสียหายจะมีอํานาจจับได แตก็ตองใชวิธีการจับตามที่บัญญัติไวในประมวลกฎหมาย

              วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓ วรรคสอง คือ ถาบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวาง
              การจับกุมหรือหลบหนี หรือพยายามจะหลบหนี ผูทําการจับมีอํานาจใชวิธีหรือความปองกันทั้งหลาย
              เทาที่เหมาะแกพฤติการณแหงเรื่องในการจับกุมนั้น หมายความวาถาหากผูถูกจับขัดขวางหรือ

              จะขัดขวางการจับหรือหลบหนี  หรือพยายามจะหลบหนี ผูที่ทําการจับนั้นก็มีอํานาจในการที่จะใชวิธี
              หรือความปองกันทั้งหลายเทาที่เหมาะแกพฤติการณ ฉะนั้นในกรณีนี้ศาลฎีกาวินิจฉัยวา แมผูเสียหาย

              จะมีอํานาจ แตการใชวิธีจับกุมดังกลาวนั้นเปนการใชวิธีการจับที่รุนแรงเกินความเหมาะสมแกพฤติการณ
              การจับจําเลยกับพวกของผูเสียหายจึงถือวาไมชอบดวยกฎหมายเพราะใชวิธีรุนแรงเกินกวาที่กฎหมาย
              ใหอํานาจไว ฉะนั้นจําเลยชอบที่จะปองกันสิทธิของจําเลยใหพนจากภยันตรายอันเกิดจากการจับ

              โดยใชวิธีการประทุษรายอันละเมิดตอกฎหมายนี้ได การที่จําเลยใชมีดปลายแหลมขนาดเล็ก
              แทงไปเพียง ๒ ครั้ง ก็ถือวาพอสมควรแกเหตุ เปนการปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย

                               ๓.๒  ถาผูนั้นไดกระทําความผิดจนเปนเหตุใหผูอื่นกอภัยขึ้นแลว แมภัยนั้น
              จะเปนการละเมิดกฎหมาย ผูกระทําความผิดที่เปนเหตุใหผูอื่นกอภัยขึ้น จะอางวากระทําการปองกัน
              ไมได

                                     ในกรณีที่ผูกอภัยขึ้นกอน กับผูกระทําตอบที่ผูกอภัยจะอางปองกันไมได
              ถาภัยนั้นเพียงเล็กนอย การกระทําตอบเปนการเกินสมควรที่ไมคาดคิดวาจะกระทําถึงเพียงนั้นแลว

              ผูที่กอภัยครั้งแรกอาจปองกันได เชน ก. เอาอิฐขวางปาเรือน ข. แลววิ่งหนีไป ข. ถือหอกวิ่งไลทําราย
              ก . แต ก. ตี ข. ตาย ดังนี้ วินิจฉัยวา ก. ไดวิ่งหนีจากหนาเรือน ข. ไปแลว ข. ไมมีเหตุอันใดที่สมควร
              จะถือหอกวิ่งทําราย ก. ตอไป การกระทํา ก. จึงเปนการปองกันโดยชอบดวยกฎหมาย

                               ๓.๓  ในกรณีตางฝายตางสมัครใจวิวาทตอสูกัน แมภัยที่แตละฝายสมัครเขาตอสู
              กันนั้นจะเปนการละเมิดกฎหมาย  ฝายใดจะอางวากระทําเพื่อปองกันตนไมได  เพราะไมมีกฎหมาย

              ใหอํานาจกระทําได จึงไมมีสิทธิปองกันภัยการวิวาทตอสูกันนั้น หมายความวาทั้งสองฝายสมัครใจ
              เขาตอสูกันโดยที่การทา และรับคําทาแลวเขาตอสูกัน ในกรณีเชนนี้ใครจะเปนฝายลงมือกอนกัน
              หรือไม ไมสําคัญตางก็ปองกันไมได

                                     แตในกรณีที่อีกฝายหนึ่งทาอีกฝายหนึ่งตอบวา เอาก็เอา แตไมไดทํา
              อะไรหรือในตอนตน วิวาทตอสูกันแลวแยกกันไป ตอมาจึงมีการกระทํากันขึ้นอีก เชนนี้อาจอาง

              การปองกันสิทธิได
                                     หลักที่วาผูกระทําการปองกันไมจําเปนตองหลบหนี เฉพาะที่หลบหนี
              ไมทัน หรือแมจะหลบหนีทันก็ไมพนอันตรายนั้น จึงไมตองหลบหนี และใชสิทธิปองกันไดตามสมควร

              แกเหตุ แตถาหลบหนีไดทันหรือพอจะหลบหนีใหพนภัยได แตไมหลบหนีกลับกระทําตอผูนั้น เชนนี้กรณี
              อาจถือวาภัยยังไมใกลจะถึงไมกอใหเกิดสิทธิปองกัน   อีกอยางอาจถือเปนการสมัครใจตอสูวิวาทกัน

              อางสิทธิปองกันไมได
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102