Page 40 - Top Executive Sharing
P. 40

38



                         โครงสร้างของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
                  อยู่ 2 แบบ คือ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่มีสถานแรกรับ กับสถานพินิจและคุ้มครองเด็ก
                  และเยาวชนที่ไม่มีสถานแรกรับ กล่าวคือ ทําเฉพาะคดีที่เป็นคดีที่ตํารวจจับกุมเด็กและเยาวชนมา

                  ส่วนเจ้าหน้าที่คุมประพฤติจะมีหน้าที่สอดส่องและสืบเสาะข้อเท็จจริง รวมถึงทําเรื่องเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา
                  โดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนส่วนนี้ สํานักงาน ก.พ. กําหนดตําแหน่งผู้อํานวยการเป็นเพียงระดับ
                  7 เท่านั้น จากสภาพในพื้นที่ที่บุคลากรหน่วยงานภาครัฐอื่นมีระดับ 8 พอเขาไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่
                  ก็จะมีความรู้สึกถึงความไม่เท่าเทียมกันในการปฏิบัติงานในพื้นที่ เพราะฉะนั้นเราจะทําอย่างไร อีกทั้ง ตามมติ

                  คณะรัฐมนตรีที่สร้างความเป็นธรรมลดความเลื่อมล้ํา ต้องเอื้อสิทธิประโยชน์ในด้านความยุติธรรมให้ครอบคลุม
                  ทุกจังหวัด โดยเรายังเปิดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยเรามีสถานพินิจ
                  และคุ้มครองเด็กและเยาวชนจํานวน 50 แห่ง อีกทั้ง มติคณะรัฐมนตรีให้เราเปิดครอบคลุมทําให้เราจะต้องไป

                  เปิดเพิ่มอีก 24 จังหวัด โดยที่เราไม่ได้อัตรากําลังเพิ่ม สิ่งนี้เป็นความท้าทายอย่างแรกในการบริหารจัดการ
                  อัตรากําลัง อย่างที่สองที่ท้าทายตําแหน่งที่เขากําหนดมาซึ่งพออยู่ในพื้นที่แล้วโดยเทียบเคียงกับหน่วยงาน
                  ในพื้นที่ที่ยังไม่มีความเท่าเทียมกัน สิ่งนี้ทําให้เกิดปัญหาสมองไหลที่ต้องปรับในเชิงพื้นที่ด้วย โดยในระดับ 7
                  ก็การปรับเป็น 8ว จนกระทั้งเป็นระดับ 8 ซึ่งก็ต้องมีการวิเคราะห์ในการปรับเพิ่มระดับ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
                  ข้อดีคือเกิดขวัญและกําลังใจที่สามารถปรับระดับตําแหน่งให้ทัดเทียมกับระดับอื่นๆ ทั้งนี้ ในการปรับระดับ

                  ตําแหน่งไม่ใช่แค่ในระดับผู้อํานวยการเท่านั้น ยังได้มีการปรับในตําแหน่งอื่นๆ ในระดับรองลงมาต่อไป
                  ที่เขาต้องมีการปรับขึ้นมา แต่การที่จะปรับระดับตําแหน่งจะต้องมีการยุบในตําแหน่งแรกในระดับล่าง
                  ซึ่งเราจะต้องมีการวิเคราะห์ โดยการศึกษาถึงผลดีผลเสียของการยุบเลิกตําแหน่ง โดยตําแหน่งที่ถูกยุบจะส่งผล

                  ต่อผู้ปฏิบัติงานอย่างไร มีความเดือดร้อนไหมจะทําอย่างไร ในช่วงนั้นก็มีเรื่องพนักงานราชการเข้ามา
                  ตอนนั้นเราก็ต้องมาทดแทนโดยการยุบตําแหน่งเราจะยุบตําแหน่งอะไร แล้วพนักงานราชการจะไปเสริม
                  การปฏิบัติงาน จะมีปัญหาในการปฏิบัติงานไหม เพราะบางตําแหน่งหากมีการยุบตําแหน่งนั้นก็จะไม่ได้
                  อัตรากําลังกลับคืน โดยเฉพาะตําแหน่งนักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่ในหน่วยงานอย่างละ 1 - 2 ตําแหน่ง

                  ในตําแหน่งข้าราชการ แต่พอเปิดตําแหน่งพนักงานราชการ ก็จะไม่ได้คนมาปฏิบัติงานในตําแหน่งข้าราชการ
                  โดยในตําแหน่งพยาบาลก็ขาดแคลนเนื่องจากทํางานเอกชนได้รับค่าตอบแทนที่มากกว่า ในส่วนตําแหน่ง
                  นักจิตวิทยาเป็นตําแหน่งที่ขาดแคลนเนื่องจากสถาบันการศึกษามาการผลิตมาจํานวนน้อยและยังเป็นวุฒิที่ขาดแคลน
                  อีกทั้ง ตําแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ในช่วงนั้นก็เป็นตําแหน่งที่ขาดแคลนด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นตําแหน่งที่จําเป็น

                  สําหรับสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน อีกทั้ง เมื่อมีการสรรหาก็ได้จํานวนไม่ครบ เพราะฉะนั้นหากคิด
                  วิเคราะห์ที่จะนําพนักงานราชการมาปฏิบัติงานแทนเป็นเรื่องที่ยาก เช่น ในตําแหน่งนักจิตวิทยาจะต้อง
                  นักจิตวิทยาคลินิก ในเรื่องโครงสร้างอัตรากําลังของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องที่มี
                  ความท้าทาย และกว่าจะได้เข้าที่เข้าทางก็ค่อนข้างที่จะลําบาก ในการดําเนินการต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์

                  ในการสร้างความเข้าใจกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับผลกระทบ ทั้งยังต้องสร้างการมีส่วนร่วม
                  ในการทํางานเพราะการทํางานจะต้องร่วมคิดร่วมทํา โดยที่เราทําคนเดียวคงไม่ได้และทําเองก็ลําบาก
                  บนหลักในการทํางาน คือ ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการทํางาน
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45