Page 79 - สังคม เศรษฐกิจ การเมืองไทย
P. 79

๗๐




              กับประชาคมโลกไดอยางไมอยูในภาวะที่เสียเปรียบ ซึ่งความรวมมือเหลานี้ก็มีความคืบหนาเปนลําดับ
              ดังจะเห็นไดจากราคาสินคาในหลายรายการที่ผลิตและคาขายภายในประเทศสมาชิกอาเซียนมีราคา

              ลดลงถูกลง ในขณะที่มีคุณภาพดีขึ้น หรือการที่พลเมืองของหลายประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ
              ไปทองเที่ยวในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นอีกหลายประเทศโดยไมตองใชวีซา เปนตน นอกจากนี้

              อาเซียนยังประสบความสําเร็จในการมีความรวมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศภายนอกภูมิภาค
              โดยเฉพาะประเทศหรือกลุมประเทศที่เปนคูเจรจาของอาเซียน อีกดวย

                          (๓) ดานสังคมและวัฒนธรรม : อาเซียนมีความรวมมือกันเปนจํานวนมากในเรื่องที่เกี่ยวกับ
              สังคมและวัฒนธรรม เชน เรื่องการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย สาธารณสุข สิ่งแวดลอม

              การปองกันและแกไขปญหาที่เกิดจากยาเสพติดและโรคเอดส การปองกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ
              และโรคติดตอรายแรง ซึ่งความรวมมือเหลานี้ตางก็มีความคืบหนาเปนลําดับ อาทิ การมีความตกลงวาดวย

              การแกไขปญหาหมอกควันขามชาติที่เกิดจากไฟปา การมีมาตรการรวมกันเพื่อแกไขปญหาโรคซารส
              และไขหวัดนก และการดําเนินการเพื่อทําใหอาเซียนเปนภูมิภาคที่ปลอดยาเสพติดภายในป ๒๕๕๘

              เปนตน

                          ในภาพรวม ไทยไดรับประโยชนเปนอยางมากจากความรวมมือดานตางๆ ของอาเซียน
              ไมวาจะเปนประโยชนจากการที่ภูมิภาคมีเสถียรภาพและสันติภาพอันเปนผลจากกรอบความรวมมือ
              ดานการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งเปนปจจัยสําคัญที่ทําใหนักลงทุนตางชาติเดินทางเขามา

              ลงทุนและทองเที่ยวในประเทศไทย การที่ไทยสามารถสงออกไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนไดมากขึ้น และ

              มีตนทุนการผลิตที่ตํ่าลง รวมถึงการมีนักทองเที่ยวจากประเทศสมาชิกอาเซียนเดินทางยังประเทศไทย
              เพิ่มมากขึ้น อันเปนผลมาจากการมีกรอบความรวมมือดานเศรษฐกิจของอาเซียน และการที่ไทยสามารถ

              แกไขปญหาที่มีผลกระทบตอสังคมไดอยางมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เชน โรคระบาด เอดส ยาเสพติด
              สิ่งแวดลอม ภัยพิบัติ และอาชญากรรมขามชาติ อันเปนผลมาจากการมีความรวมมือทางดานสังคม

              และวัฒนธรรมของอาเซียน ซึ่งหากไมมีแลว ก็คงเปนการยากที่ไทยจะแกไขปญหาเหลานี้ไดโดยลําพัง
                          เมื่อเราเขาใจแนวคิดเรื่องของชาติพันธุ อคติและการเลือกปฏิบัติทางสีผิว และชาตินิยม

              เราจะเขาใจวาฐานคิดเหลานี้มักอางอิงถึงความรวมกันทางวัฒนธรรมที่มีรากเหงาทางวัฒนธรรมและ
              ประวัติศาสตร และในขณะเดียวกันเราจะเขาใจความซับซอน ละเอียดออนในเรื่องความสัมพันธทาง

              อํานาจที่กระทําตอกลุมคนและปจเจก และตั้งคําถามกับความเชื่อและความรูสึกของเราที่มีตอการ
              รวมชีวิตกับผูอื่น ซึ่งไมจําเปนจะตองเปนไปในระดับของอุดมการณทางการเมืองและเศรษฐกิจในแบบที่

              เราเขาใจผานมา อาทิ เสรีนิยม และ คอมมิวนิสต เปนตน และนําไปสูความเขาใจการเมืองเชิงวัฒนธรรม
              (cultural politics) เพื่อแสวงหาและตอรองในการมีที่ทางของตนเอง
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84