Page 4 - donnaya_thai
P. 4

การสร้างค าในภาษาไทย



                     ค าที่ใช้ในภาษาไทยดั้งเดิม ส่วนมากจะเป็นค าพยางค์เดียว เช่น พี่น้อง เดือนดาว จอบ ไถ หมู

          หมา กิน นอน ดี ชั่ว สอง สาม เป็นต้น เมื่อโลกวิวัฒนาการ มีสิ่งแปลกใหม่เพิ่มขึ้น ภาษาไทยก็จะต้องพัฒนาทั้ง
          รูปค าและการเพิ่มจ านวนค า เพื่อให้มีค าใช้ในการสื่อสารให้เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของวัตถุสิ่งของและ

          เหตุการณ์ต่าง ๆ ด้วยการสร้างค า ยืมค า และเปลี่ยนแปลงรูปค า มีรายละเอียดดังนี้
                     แบบสร้างค า คือ วิธีการน าอักษรมาประสมเป็นค าเกิดความหมายและเสียงของแต่ละพยางค์ ใน
          ๑ ค า จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕

          ส่วน คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์
                     ค าไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งค าที่เป็นค าไทยดั้งเดิม ค าที่มาจากภาษาต่างประเทศ ค าศัพท์เฉพาะ

          ทางวิชาการ ค าที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด ค าชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกตามลักษณะและแบบสร้างของค า เช่น
          ค ามูล ค าประสม ค าสมาส ค าสนธิ ค าพ้องรูป ค าพ้องเสียง ค าเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้เรียนจะเข้าใจ
          ลักษณะแตกต่างของค าเหล่านี้ได้จากแบบสร้างของค า

                     วิธีการสร้างค าในภาษาไทยมี ๒ ลักษณะ คือ การสร้างค าโดยวิธีการน าวิธีการของภาษาอื่นมาใช้
          และการสร้างค าที่เป็นวิธีของภาษาไทยเอง



          ๑. การสร้างค าโดยวิธีการน าวิธีการของภาษาอื่นมาใช้
              เนื่องจากประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางภาษาผ่านทางอาณาเขต การค้า ศาสนา เทคโนโลยี การปกครอง

          และปัจจัยอื่น ๆ ท าให้ได้รับอิทธิพลการสร้างค าจากภาษาอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาสันสฤต และ
          ภาษาเขมร โดยวิธีการใช้อุปสรรค การสมาส การสนธิ การสร้างค าตามวิธีของภาษาเขมร ดังนี้



          ๑.๑ การสร้างค าตามวิธีบาลี สันสกฤต
              ๑.๑.๑ การใช้อุปสรรค

                     อุปสรรค คือ พยางค์ที่ใช้ประกอบหน้าศัพท์ ท าให้มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป ค าอุปสรรค
          จะใช้ตามล าพังไม่ได้ต้องใช้ประกอบนามหรือกริยา ถ้าประกอบนามจะท าหน้าที่เหมือนส่วนขยายนาม ถ้า

          ประกอบกริยาจะท าหน้าที่เหมือนส่วนขยายกริยา ค าอุปสรรคเมื่อประกอบหน้าศัพท์แล้ว จะมีการ
          เปลี่ยนแปลงตามหลักสนธิ
                     ค าอุปสรรคที่น ามาใช้ในภาษาไทยจะน ามาใช้ตามรูปค าบาลีและสันสกฤตก็มีบางค าก็เปลี่ยน

          เสียงให้เข้ากับค าไทย และเมื่ออยู่ในค าไทยความหมายอาจเปลี่ยนไปได้ เช่น บริษัท แปลว่า นั่งรอบ เมื่อเป็นค า
          ไทยหมายถึงนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นเพื่อเข้าหุ้นกัน หรือคนทั้งหลายมาประชุมกัน เป็นต้น

              ๑.๑.๒ การสมาส
                     สมาส เป็นวิธีการสร้างค าในภาษาบาลีและสันสกฤตเช่นเดียวกับค าประสมของไทย โดยน าค า
          ตั้งแต่ ๒ ค า มารวมเป็นค าเดียวกันให้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน เช่น มัธยมศึกษา ศีลธรรม ส่วนวิธีการน าค า

          ตั้งแต่ ๒ ค า มาเชื่อมกัน ใช้การกลมกลืนเสียงให้เป็นค าเดียวกัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ ให้ออก
          เสียงกลมกลืนกันสนิทเรียกว่า “สนธิ” ดังนั้น สนธิเป็นการน าค าหลายค ามาเชื่อมต่อกัน โดยให้เสียงกลมกลืน

          กัน เช่น ค าว่า สุข- สนธิกับ อภิบาล เป็น สุขาภิบาล นร- สนธิกับ อินทร์ เป็น นรินทร์ เป็นต้น
   1   2   3   4   5   6   7   8   9