Page 5 - donnaya_thai
P. 5

๑.๑.๒.๑ วิธีการสร้างค าตามวิธีการสมาสของค าบาลี สันสกฤต มี ๒ วิธี คือ

                 ๑) วิธีลบวิภัตติ
                    วิภัตติ หมายถึง พยางค์ที่น ามาประกอบท้ายนามศัพท์หรือกริยาศัพท์ในภาษาบาลีและสันสกฤต

          เพื่อบอกให้รู้บุรุษ พจน์ เพศ และหน้าที่ของค าในประโยค ในค าที่เป็นค านาม หรือบอกให้รู้กาลมาลา วาจก ใน

          ค าที่เป็นค ากริยา  การสมาสโดยลบวิภัตติในค าหน้าก่อนที่จะน ามารวมกัน เช่น
                               สมณ (ลบวิภัตติ โอ) ประกอบวิภัตติเป็น สมโณ

             เมื่อน า สมโณ กับ พฺราหฺมโณ สมาสกัน จะลบวิภัตติตัวหน้าเป็น สมณ แล้วน ามารวมกับค าหลังเป็น
          สมณพฺราหฺมโณ ไทยใช้ สมณพราหมณ์

                 ๒) วิธีคงวิภัตติไว้

                     การสมาสโดยวิธีคงวิภัตติไว้ สามารถท าได้โดยค าหน้าไม่ลบวิภัตติ แล้วสมาสกับค าหลังให้ติดกัน
          เช่น                 มนสิ กับ กาโร สมาสกันเป็น มนสิกาโร ไทยใช้ มนสิกา




                     การสมาสในภาษาไทยไม่มีการลบวิภัตติ หรือคงวิภัตติอย่างในภาษาบาลี สันสกฤตซึ่งเป็นภาษาที่
          มีวิภัตติ เมื่อไทยน าค าบาลี สันสกฤตเข้ามา เราใช้ค าเดิมของเขาที่ไม่มีรูปวิภัตติ เมื่อน ามาสมาสเราก็จะน ามา

          รวมกันหรือเรียงค าเข้าด้วยกัน คือ น าค าขยาย มาไว้ข้างหน้าและอ่านออกเสียงต่อเนื่องกัน เช่น
                                          ราช + กุมาร     =    ราชกุมาร

                                          ภูมิ + ศาสตร์     =    ภูมิศาสตร์

                                          สังฆฺ + ทาน      =    สังฆทาน
                                          ปัญญา + ชน     =    ปัญญาชน

                ข้อสังเกต ค าสมาสจะต้องเป็นค าบาลีกับบาลี หรือสันสกฤตกับสันสกฤตมาสมาสกัน เช่น ธรรมจริยา

          กิตติคุณ หรือจะเป็นค าบาลีกับสันสกฤตมาสมาสกันก็ได้ เช่น วัฒนธรรม กิตติศักดิ์ ปฐมฤกษ์ ถ้าเป็นค าไทยกับ
          บาลีหรือสันสกฤตจะไม่เป็นค าสมาส แต่เป็นค าประสม เช่น ราชวัง (บาลี + ไทย) ทุนทรัพย์ (ไทย + สันสกฤต)

          สรรพสิ่ง (สันสกฤต + ไทย) และภาษาเขมรกับภาษาบาลีและสันสกฤตมาประสมกัน ก็เป็นค าประสม ไม่ใช่

          ค าสมาส เช่น กระยาสารท ( เขมร + บาลี ) บายศรี ( เขมร + สันสกฤต )


          ๑.๑.๒.๒ ลักษณะของค าสมาส

             ค าสมาส จะต้องเป็นค าที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตมาสมาสกัน จะน าค าไทยหรือค าภาษาอื่นมาสมาส
          กับค าบาลีหรือสันสกฤตไม่ได้ เช่น

                                          ศิลป + วิทยา    สมาสเป็น    ศิลปวิทยา

                                          ราช + การ       สมาสเป็น    ราชการ
               เมื่ออ่านค าสมาส จะต้องอ่านให้มีเสียงสระเชื่อมติดกันระหว่างค าหน้ากับค าหลัง ถ้าระหว่างค าไม่มีรูป

          สระ ให้อ่านเหมือนมีสระอะประสมอยู่ เช่น
                                          ภูมิศาสตร์     อ่านว่า     พู - มิ – สาด

                                          มนุษยธรรม   อ่านว่า     มะ - นุด - สะ - ยะ – ท า
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10