Page 10 - donnaya_thai
P. 10
๔) ค าไทยแท้ประสมค าบาลีสันสกฤต เช่น หลักฐาน แขกยาม นงเยาว์ ราชวัง ภูมิล าเนา
ค าประสม ถ้าแบ่งตามชนิดของค าที่ท าน้าที่ในประโยค จะแบ่งได้เป็น ๓ ชนิด คือ
๑) ค าประสมที่ท าหน้าที่เป็นค านาม มีวิธีการสร้าง ๒ วิธี คือ
- ยึดค านามเป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่ค านามตัวแรก ค านามตัวหลัง หรือค าอื่นเป็นค าขยาย
เช่น แกงไก่ นากุ้ง แม่น้ า ลูกน้ า หมอดู ไข่ต้ม แกงจืด ข้าวสวย บ้านนอก
- ยึดค ากริยาหรือค าวิเศษณ์เป็นหลัก ส่วนค าอื่นที่ตามมาจะเป็นค าขยาย เช่น นั่งร้าน พัดลม ต้ม
ย า เปรี้ยวหวาน ต้มเค็ม
ค าประสมที่ท าหน้าที่เป็นค ากริยา มีวิธีการสร้าง ๒ วิธี คือ
๑) ยึดค ากริยาเป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่ค ากริยาตัวแรก ค ากริยาตัวหลัง หรือค าอื่นเป็นตัว
ขยาย เช่น ยกเลิก ร้องส่ง แก้ไข ตบแต่ง ปิดปาก ถือดี
๒) ยึดค าวิเศษณ์หรือค าบุพบทเป็นหลัก ค าอื่นเป็นค าเสริม เช่น
ค าวิเศษณ์ประสมค านาม เช่น อ่อนใจ แข็งใจ
ค าวิเศษณ์ประสมค าบุพบท เช่น นอกใจ
ค าประสมที่ท าหน้าที่เป็นค าวิเศษณ์ มีวิธีการสร้าง ๒ วิธี คือ
๑) ยึดค าวิเศษณ์เป็นหลัก ความหมายหลักอยู่ที่ค าวิเศษณ์ ค าอื่นเป็นค าเสริม หรือค าขยาย เช่น
แดงเลือดนก เขียวน้ าทะเล หลายใจ
๒) ยึดค านาม กริยา หรือบุพบทเป็นหลัก ค าอื่นเป็นค าเสริมหรือค าขยาย เช่น คอแข็ง วาดเขียน
ข้างถนน
๑.๒.๒ ค าซ้อน
ค าซ้อน (Synonymous compound) บางต าราเรียกค าไวพจน์ผสม หรือ ค าคู่ (Complete
Word) หมายถึง ค าที่เกิดจากการน าค าตั้งแต่ ๒ ค าขึ้นไปมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยที่ค าที่น ามาประกอบกัน
นั้นมีความสัมพันธ์กันทางความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีความหมายเหมือนกัน คล้ายกัน เกี่ยวข้องกันไป
ในท านองเดียวกัน หรือมีความหมายตรงกันข้าม
๑.๒.๒.๑ ลักษณะส าคัญของค าซ้อน
ค าซ้อนมีลักษณะส าคัญหลายประการ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
๑) ค าที่น ามาประกอบกันมีความหมายเดียวกัน ความหมายใกล้เคียงกันหรือความหมาย
ตรงข้ามกันก็ได้
๑.๑) ค าที่น ามาประกอบกันมีความหมายเดียวกัน
ค าที่น ามาประกอบกันอาจเป็นค าที่มีที่มาจากภาษาเดียวกัน ค ายืมจากภาษาอื่น ภาษาถิ่นหรือ
ภาษาปากก็ได้ แต่เป็นค าที่มีความหมายเหมือนกัน ดังตัวอย่าง