Page 7 - donnaya_thai
P. 7
๒) สระอิ อี สนธิกับสระอิ จะรวมเป็นสระอิ เช่น
ภูมิ + อินทร์ เป็น ภูมินทร์
โกสี + อินทร์ เป็น โกสินทร์
ถ้าสระอิ อี สนธิกับสระอื่น เช่น อะ อา อุ โอ มีวิธีการ ๒ อย่าง คือ
ก. แปลงรูปอิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงน าไปสนธิตามแบบ อะ อา แต่ถ้าค านั้นมีตัวสะกด ตัวตาม ต้อง
ตัดตัวตามออกเสียก่อน แล้วจึงน ามาสนธิ ดังนี้
มติ + อธิบาย เป็น มัตย + อธิบาย เป็น มัตยาธิบาย
อัคคี +โอภาส เป็น อัคย + โอภาส เป็น อัคโยภาส
ข. ตัดอิ อี ออก แล้วสนธิแบบ อะ อา เช่น
หัตถี + อาจารย์ เป็น หัตถาจารย์
ศักดิ + อานุภาพ เป็น ศักดานุภาพ
๓) สระอุ อู ถ้าสระอุ อูสนธิกัน รวมกันเป็นรูปสระอุ อู เช่น
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์
ครุ, คุรุ + อุปถัมภ์ เป็น คุรุปถัมภ์, คุรูปถัมภ์
แต่ถ้าสระอุ อู นี้สนธิกับสระอื่น จะต้องเปลี่ยนรูป อุ อู เป็น ว แล้วสนธิตามแบบ อะ อา เช่น
พหุ + อาหาร เป็น พหวาหาร
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
๑.๑.๓.๒ พยัญชนะสนธิ ในภาษาบาลี คือ การน าค าที่ลงท้ายด้วย สระไปสนธิกับค าที่ขึ้นต้น
ด้วยสระหรือพยัญชนะ ส่วนในภาษาสันสกฤต คือ การน าค าที่ลงท้ายด้วย พยัญชนะไปสนธิกับค าที่ขึ้นต้นด้วย สระ
หรือพยัญชนะ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ยุ่งยาก จะไม่น ามากล่าวในที่นี้ เรารับค าสมาส ที่มีสนธิของภาษาบาลีสันสกฤต มาใช้
เช่น
มน + ภาว ( บ. ) มนสฺ + ภาว ( ส ) = มโนภาว ไทยใช้ มโนภาพ
เตช + ชย ( บ. ) เตชสิ + ชย ( ส ) = เตโชชย ไทยใช้ เตโชชัย
๑.๑.๓.๓ นิคหิตสนธิ ( หรือนิคหิตสนธิ ) เป็นการน าค าที่ลงท้าย นิคหิตไปสนธิกับค าที่ขึ้นต้นด้วยพ
ยัญขนะหรือสระก็ได้มีหลักดังนี้
๑) ถ้าค าที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับค าที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะวรรค ให้แปลงรูป
นิคหิตเป็นพยัญชนะท้ายวรรคก่อนแล้วจึงน าไปสนธิกัน พยัญชนะท้ายวรรคของพยัญชนะวรรคทั้ง ๕ วรรค ได้แก่ ง ญ
ณ น ม
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค ก ได้แก่ ก ข ค ฆ ให้เปลี่ยน เป็น ง ดังนี้
ส + กร เป็น สังกร ส + ขาร เป็น สังขาร
ส + คม เป็น สังคม ส + คีต เป็น สังคีต
ถ้านิคหิตสนธิกับพยัญชนะวรรค จ ได้แก่ จ ฉ ช ฌ ให้เปลี่ยน เป็น ญ