Page 6 - donnaya_thai
P. 6
ค าสมาสที่มีเสียงอะที่พยางค์ท้ายค าหน้าจะไม่ใส่รูปวิสรรชนีย์ เช่น สมณพราหมณ์ ไม่ใช่ สมณะ
พราหมณ์ กาลเทศะ ไม่ใช่ กาลเทศะ
ระหว่างค าสมาสไม่ใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น มนุษยธรรม ไม่ใช่ มนุษย์ธรรม แพทยศาสตร์ ไม่ใช่
แพทย์ศาสตร์
ค าว่า “วร” เมื่อสมาสกับค าอื่นแล้ว จะน ามาใช้เป็นค าราชาศัพท์ ในภาษาไทยจะแผลงเป็น พระ เช่น
วรพักตร์ เป็น พระพักตร์
วรเนตร เป็น พระเนตร
แต่พระเก้าอี้ พระอู่ พระขนอง ซึ่งมีค าว่าพระอยู่ข้างหน้า แต่เก้าอี้ อู่ ขนอง ไม่ใช่ค าบาลีสันสกฤต
ค าราชาศัพท์เหล่านี้จึงไม่ใช่ค าสมาส
๑.๑.๓ การสนธิ
สนธิ เป็นการเปลี่ยนแปลงเสียงตามหลักภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อเสียงสองเสียงอยู่ใกล้กันจะมีการ
กลมกลืนเป็นเสียงเดียวกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะสระและนิคหิตที่มาเชื่อมเพื่อการกลมกลืนเสียงให้
เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และท าให้ค าเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า การสนธิ มี ๓ ลักษณะ คือ
๑.๑.๓.๑ สระสนธิ เป็นการน าค าที่ลงท้ายสระไปสนธิกับค าที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้ว
จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ ๒ เสียงได้กลมกลืนเป็นเสียงสระเดียวกัน สระที่เป็นค าท้ายของ
ค าหน้าจะได้แก่ สระอะ อา อิ อี อุ อู เป็นส่วนใหญ่ เช่น
๑) สระอะ อา ถ้าสนธิกับสระอะ อา ด้วยกัน จะรวมเป็นสระอะ อา เช่น
เทศ + อภิบาล เป็น เทศาภิบาล
กาญจน + อาภรณ์ เป็น กาญจนาภรณ์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอะ อาของพยางค์ที่มีตัวสะกด จะรวมเป็นสระอะที่มีตัวสะกด เช่น
มหา + อรรณพ เป็น มหรรณพ
มหา + อัศจรรย์ เป็น มหัศจรรย์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอิ อี จะรวมเป็นสระอิ อี หรือเอ เช่น
นร + อินทร์ เป็น นรินทร์ หรือ นเรนทร์
มหา + อิสิ เป็น มหิสิ หรือ มเหสี
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระอุ อู จะรวมเป็นสระอุ อู หรือโอ เช่น
มัคค + อุเทศก์ เป็น มัคคุเทศก์
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์
ถ้าสระอะ อา สนธิกับสระเอ ไอ โอ เอา จะรวมเป็นเอ ไอ โอ เอา เช่น
มหา + โอฬาร เป็น มโหฬาร
โภค + ไอศวรรย์ เป็น โภไคศวรรย์