Page 178 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 178
178
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมแล้วอาจจะประกอบด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ( ข้อมูลเชิงคุณภาพ
(ข้อความ) แล้วนําข้อมูลเหล่านั้นไปทําการวิเคราะห์ข้อมูลตัวอย่างกรณท ทําการสํารวจตัวอย่าง และนําผล
จากการวิเคราะห์ไปสรุปลักษณะของประชากรเพื่อช่วยเนา ตัดสินใจ เช่น ผู้จัดการตลาดจะต้องตัดสินใจว่า
ควรจะผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดหรือไม่ ฝ่ายวิจัยของบริษัทจะต้องเสนอข้อมูลสถิติ ซึ่งเป็นผลสรุปจาก
การวิเคราะห์เพื่อช่วยให้ผู้จัดการ ตลาดตัดสินใจได้ถูกต้อง โดยฝ่ายวิจัยอาจจะส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่ม
ลูกค้าเป้าหมาย กอ สอบถามความต้องการซื้อของลูกค้า แล้วนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปถึงความ
ต้องการซื้อของลูกค้า
สถิติ (Statistics)
สถิติ (Statistics) หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สนใจศึกษาที่เป็นทั้งตัวเลข และไม่ใช่
ตัวเลข นํามาจัดให้เป็นระเบียบเพื่อนําเสนอ แล้ววิเคราะห์ค่าข้อมูล อธิบายค่าที่ได้นําไปสู่ การตัดสินใจอย่าง
มีเหตุผลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น (Freund & Perles, 1999)
วิชาสถิติ เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเก็บข้อมูล และมีหลักวิชาการจนกระทั่งตีความหมาย ออกมา
โดยอาศัยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์สามารถกําหนดให้เป็นระเบียบทางสถิติ (Method of Statistics)
ซึ่งถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ประกอบด้วย
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection Data) หมายถึง การเก็บข้อมูลโดยวิธีการใดๆ ในเรื่องที่
ต้องการศึกษา เมื่อต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะกําหนดประชากร (Population) เพื่อ เก็บข้อมูลจาก
ประชากร ซึ่งต้องเก็บข้อมูลจากประชากรทุกหน่วย หากประชากรมีจํานวนมาก การ เก็บข้อมูลจากประชากร
ก็จะเสียค่าใช้จ่ายสูง และเสียเวลาในการเก็บข้อมูล ซึ่งผู้วิจัยสามารถใช้ เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (Sampling
Technique) เพื่อเลือกตัวแทนประชากรบางส่วนที่เรียกว่า กลุ่มตัวอย่าง (Sample) มาศึกษาแทน หลังจาก
นั้นจึงเก็บรวบรวมด้วยเครื่องมือ และวิธีการเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น
2. การน าเสนอข้อมูล (Presentation Data) การที่จะนําข้อมูลไปใช้งานได้นั้น จําเป็นต้องจัด
ระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่สามารถนําไปใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว ทําให้ ผู้สนใจข้อมูลเข้าใจง่าย
วิธีการนําเสนอสามารถทําได้โดยการแสดงเป็นตารางแจกแจงความถี่ ขอมูล การนําเสนอโดยกราฟรูปแบบ
ต่างๆ การนําเสนอโดยสือระบบมัลติมีเดีย หรือการหาค่า ควแทนข้อมูลทั้งหมด เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม
และค่ามัธยฐาน เป็นต้น