Page 182 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 182

182


                  ลักษณะของข้อมูลที่เก็บแบ่ง


                  1. ข้อมูลที่ไม่ได้แบ่งกลุ่ม (Ungrouped  Data)  เป็นข้อมูลที่เก็บจากลักษณะของแต่ละหน่วย

           ประชากร หรือกลุ่มตัวอย่าง เช่น อายนักเรียนปวช. 15, 18, 20, 25, 23, 14, 22 ปี เป็นต้น

                  2. ข้อมูลที่แบ่งกลุ่ม (Grouped  Data)  เป็นข้อมูลที่จัดแบ่งเป็นกลุ่มๆ เป็นอันตรภาคชั้น เช่น อายุ

           ของนักเรียนกลุ่มหนึ่ง 15-20, 21-26, 27-32 ปี เป็นต้น


                  สถิติพื้นฐานในการวิจัย


                  สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการอธิบายตัวแปร (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย


                  1 การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) เหมาะกับข้อมูลที่อยู่ในมาตรานาม


                  บัญญัติ เช่น ถ้าต้องการทราบเกี่ยวกับตัวแปร เพศ ตําแหน่ง ว่าจากการเFIL2 U2 2มขอมูลได้มี เพศ

           ชาย-เพศหญิงกี่คน คิดเป็นร้อยละเท่าใด หรือตําแหน่งแต่ละตําแหน่งมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะ ใช้ร้อยละ

           (Percentage) เป็นสถิติบรรยาย

                  การสร้างตารางแจกแจงความถี่ (Construction of Frequency Table) จะทําได้โดย แบ่งช่วงความ

           กว้างของข้อมูลออกเป็นช่วงสั้นๆ และแสดงจํานวนข้อมูลที่มีค่าในแต่ละช่วงสั้นๆ นั้น จํานวนข้อมูลในแต่ละ

           ช่วงเรียกว่า ความถี่ (Frequency)  จํานวนช่วงสั้นๆ ของข้อมูลที่ถูกแบ่ง เรียกว่า จํานวนชั้น (Class)  และ

           ช่วงกว้างของข้อมูลในแต่ละชั้นเรียกว่า อันตรภาคชั้น (Class  Interval)  ในการสร้างตารางแจกแจงความถี่

           ควรจะมีจํานวนชั้นไม่มากหรือน้อยจนเกินไป จํานวน ชั้นควรจะอยู่ระหว่าง 6-15 ชั้น และเพื่อสะดวกต่อการ

           วิเคราะห์ข้อมูลอันตรภาคชั้นของแต่ละชั้น ควรจะมีค่าเท่ากันหมด แต่ก็มีข้อมูลบางชุดจําเป็นต้องจัดระเบียบ

           โดยการสร้างตารางแจกแจง ความถี่ในลักษณะที่มีอันตรภาคชั้นของแต่ละชั้นไม่เท่ากัน วิธีการดําเนินการ

           สร้างตารางแจกแจง ความถี่มีขั้นตอนดังนี้


                  1. หาพิสัย (Range) เท่ากับ ค่าสูงสุด - ค่าต่ําสุด 2. กําหนดจํานวนชั้นโดยประมาณให้เหมาะสม 3.
           คํานวณหาอันตรภาคชั้นโดยประมาณดังนี้


                  ค่าพิสัย


                  จ านวนชั้น

                  หมายเหตุ ถ้าผลลัพธ์ได้เป็นเลขทศนิยมให้ปัดเศษให้เป็นเลขจ านวนเต็มที่สูงขึ้นไป เช่น 6.4 ให้

           ปัดเป็น 7 ชั้น เป็นต้น แต่ถ้าผลลัพธ์ได้เป็นจ านวนเต็มให้บวกด้วยเลข 1 เช่น ค านวณ จ านวนชั้นตาม
           สูตรได้เท่ากับ 8 ให้บวกเป็น 9 ชั้น
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187