Page 179 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 179

179


                  3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Data) การนําเสนอข้อมูล และการวิเคราะห์เบื้องต้น


                  ความรู้ทางคณิตศาสตร์ จําเป็นต้องการอธิบายลักษณะประชากรตามที่ตั้งสมมติฐานไว้ หรือ ต้องการ

           ประมาณค่าประชากร ผู้วิจัยจึงนําค่าสถิติจากกลุ่มตัวอย่างมาศึกษาโดยวิธีการคํานวณให้

                  ข้อมูลแล้วนําไปอธิบายหรืออ้างอิงหาประชากรทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลนีรวมถึงสถิติ ประยุกต์

           เช่น การวิเคราะห์ ความแปรปรวน การวิเคราะห์ถดถอย ทฤษฎีการตัดสินใจ เป็นต้น


                  4. การแปลความหมาย (Interpretation  Data)  จากการวิเคราะห์ค่าข้อมูลที่ได้ ผู้วิจัย อธิบาย

           ความหมายให้ถูกต้องตามหลักการ และค่าสถิติที่ได้ เพื่อนําเสนออีกครั้งให้บุคคลอื่นได้ เข้าใจค่าที่วิเคราะห์ได้

           ซึ่งอาจจะไม่ต้องสนใจขั้นตอนการวิเคราะห์ที่ผ่านมา


                  ประเภทสถิติ


                  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ สถิติเชิง พรรณนา
           (Descriptive  Statistics)  และการอนุมานเชิงสถิติ หรือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential  Statistics)  ดัง

           รายละเอียดต่อไปนี้


                  1. สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของข้อมูล (Data) ที่ผู้วิจัย

           เก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งจะแสดงในรูปค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ส่วน

           เบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน เป็นต้น


                  2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential  Statistics)  หมายถึง การวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมา จากกลุ่ม

           ตัวอย่าง เพื่ออธิบายสรุปลักษณะของประชากร โดยมีการนําทฤษฎีความน่าจะเป็นมา ประยุกต์ใช้ ได้แก่ การ

           ประมาณค่าทางสถิติ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ การวิเคราะห์การ ถดถอยและสหสัมพันธ์ เป็นต้น


                  สถิติข้อมูล (Data)

                  ข้อมูล (Data)  หมายถึง ข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงคุณสมบัติที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา เช่น อายุ รายได้

           ยอดขาย เป็นต้น


                  ประเภทของข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไป โดยการจําแนก ข้อมูล อาจ

           จําแนกตามเกณฑ์ได้ 3 ประเภท คือ จําแนกตามแหล่งข้อมูล :จําแนกตามแหล่งข้อมูล จําแนกตามลักษณะ

           ของ ข้อมูล และจําแนกตามมาตรการวัด เป็นต้น
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184