Page 181 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 181
181
1 จ าแนกตามแหล่งข้อมูล
1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลที่สนใจ ด้วยตนเอง
โดยอาจจะใช้วิธีเก็บแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้วิจัยไม่ได้เป็นผู้เก็บรวบรวม ข้อมูลที่สนใจ
เอง โดยนําข้อมูลที่ผู้อื่นเก็บมาใช้ เช่น ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อมูลผลิตภัณฑ์จาก
สมาคมการตลาด เป็นต้น
2 จ าแนกตามลักษณะของข้อมูล
2.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงในรูปตัวเลขได้ เช่น น้ําหนัก
อายุ คะแนน จํานวนสินค้า งบประมาณ จํานวนพนักงานขาย เป็นต้น ข้อมูลเชิงปริมาณ
สามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ
ก. ข้อมูลต่อเนื่อง (Continuous Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าต่างๆ ทุกค่า ต่อเนื่องกัน โดยแสดงได้
ทั้งเศษส่วนหรือตัวเลขที่เป็นจํานวนเต็ม เช่น ส่วนสูง น้ําหนัก เป็นต้น
ข. ข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าเป็นจํานวนเต็ม หรือจํานวนนับ เช่น
ค่าใช้จ่าย จํานวนสินค้า งบประมาณ จํานวนพนักงานในบริษัท เป็นต้น
2.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถแสดงในรูป ตัวเลขได้ หรือ
อาจแสดงในรูปตัวเลขได้แต่ไม่สามารถคํานวณในเชิงปริมาณได้ เนื่องจากตัวเลขนั้น ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น
เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา เป็นต้น
3 จ าแนกตามมาตรการวัด
3.1 นามบัญญัติ (Nominal Scales) คือ ระดับของข้อมูลที่เป็นการกําหนดชื่อหรือ แบ่งแยกประเภท
ของสิ่งต่างๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ห้องทํางานแต่ละห้อง ชื่ออาคารในบริษัท เป็นต้น
3.2 เรียงลําดับ (Ordinal Scales) คือ ระดับของข้อมูลที่จัดลําดับความสําคัญของข้อมูล ตามความ
แตกต่างได้ เช่น ชอบมาก ชอบปานกลาง ชอบน้อย ไม่ชอบ เป็นต้น
3.3 อันตรภาค (Interval Scales) คือ ระดับของข้อมูลที่บอกถึงปริมาณของความ แตกต่างของ
ข้อมูลได้แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบวัดความรู้ ความสูง เป็นต้น