Page 145 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 145
141
3.1 ควำมหมำยของคำร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
พลังงานส่วนใหญ่ที่ร่างกายใช้จะ มาจากคาร์โบไฮเดรต ประมาณร้อยละ
45- 65 ของพลังงานทั้งหมด ร่างกายจะได้รับคาร์โบไฮเดรตจาก อาหาร
ประเภทแป้งและนํ้าตาลซึ่งได้แก่ ข้าว เผือก มัน นํ้าผึ้ง ผลไม้ เป็นต้น โดย
คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะให้พลังงานแก่ร่างกายประมาณ 4 กิโลแคลอรี
พืชสามารถสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตได้ด้วยกระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) โดยใช้คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
ซึ่งเป็นสารสีเขียวในพืช นํ้าจากดิน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศ
และพลังงานจากแสงอาทิตย์ เซลล์ของพืชจะรวมโมเลกุลของนํ้าตาล
โมเลกุลเดียวให้เป็นนํ้าตาล โมเลกุลคู่และนํ้าตาลเชิงซ้อน โดยนํ้าตาล
เชิงเดี่ยวและนํ้าตาลโมเลกุลคู่มักพบในผลไม้ นํ้าตาลเชิงซ้อน หรือ
คาร์โบไฮเดรตพบในพืช ส่วนเมล็ด หัวและลําต้น มนุษย์และสัตว์ไม่
สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ แต่สามารถนําคาร์โบไฮเดรตที่พืชสะสม มา
ใช้เป็นอาหารในรูปของข้าว แป้ง และนํ้าตาล เผาผลาญเป็น พลังงานเพื่อ
การดํารงชีวิตได้
3.2 ชนิดของคำร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า แซคคาไรด์ (Saccharide)
หรือนํ้าตาล (Sugar) สูตร ทั่วไป คือ C H O เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุล
เล็กที่สุด มีลักษณะเป็นผลึกขาว มีรสหวาน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ