Page 20 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 20

16


               (Chromosomal Mutation) และระดับยืนหรือโมเลกุล  DNA (Gene


               Mutation หรือ Point Mutation) ดังนี้


                         1) การเปลี่ยนแปลงระดับโครโมโซม แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้


                         1.1) การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโครงสร้างภายในของแต่ละโครโมโซม


               เป็นผลทําให้เกิด การสลับตําแหน่งของยีนที่อยู่ในโครโมโซมนั้น ได้แก่


                               - การขาดหายไป (Deletion หรือ Deficiency) เกิดกับส่วน


               ใดส่วนหนึ่งของ โครโมโซมทําให้ยืนขาดหายไป


                               - การเพิ่มขึ้นมา (Duplication) เกิดจากมีส่วนใดส่วนหนึ่ง


               ของโครโมโซม เพิ่มขึ้นมามากกว่าที่มีอยู่ปกติ


                               - การเปลี่ยนตําแหน่งทิศทาง  (Inversion) เกิดจาก


               สับเปลี่ยนตําแหน่งของยืน  ภายในโครโมโซมเดียวกัน  เนื่องจากเกิดรอย


               ขาด 2 แห่งบนโครโมโซมนั้น และส่วนที่ขาดนั้นไม่หลุดหายไป แต่กลับต่อ


               เข้ามาใหม่ในโครโมโซมเดิมโดยสลับที่กัน


                               - การเปลี่ยนสลับที่ (Translocation) เกิดจากการ


               แลกเปลี่ยนของโครโมโซม ระหว่างโครโมโซมที่ไม่เป็นโฮโมโลกัสกัน


                           1.2) การเปลี่ยนแปลงจํานวนโครโมโซม  โดยอาจมีจํานวน


               โครโมโซมเพิ่มมากขึ้นหรือ ลดน้อยลงไปจากจํานวนปกติ  (ดิพลอยด์ หรือ


               2n) เกิดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้


                             - ยูพลอยดี (Euploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจํานวนชุดของ


               โครโมโซม (2n+n หรือ 2n + 2n) ส่วนใหญ่เท่าที่พบเกิดขึ้นในพวกพืช


               และมีประโยชน์ในด้านการเกษตร
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25