Page 21 - วทยาศาสตรเพอพฒนาอาชพธรกจและบรการ
P. 21
17
- แอนยูพลอยดี (Aneuploidy) เป็นการเพิ่มหรือลดจํานวน
โครโมโซมเพียง 1 - 2 แท่งจากจํานวนปกติ (2n+1 หรือ 2n+2)
2) การเปลี่ยนแปลงระดับยีน การเปลี่ยนแปลงในระดับยีนนี้เกิด
จากการเปลี่ยนแปลงของ เบส (A, T, C, G) หรือการเปลี่ยนตําแหน่ง
ลําดับการเรียงตัวของเบสในโมเลกุลของ DNA ซึ่งจะส่งผลไปถึงตําแหน่ง
การเรียงตัวของกรดอะมิโนในสายพอลิเปปไทด์ในโมเลกุลของโปรตีนที่อยู่
ภายใต้การควบคุม ของยีนนั้นด้วย สิ่งก่อการกลาย (Mutagen) หมายถึง
ตัวกระตุ้นหรือตัวชักนําให้เกิดมิวเทชัน ซึ่งเป็น ปัจจัยที่ก่อความผิดปกติที่
เกิดขึ้นภายในยีนของสิ่งมีชีวิต ได้แก่
2.1) รังสี (Radiation) รังสีที่กระตุ้นให้เกิดมิวเทชันมี 2 ชนิด คือ
lonizing Radiation เช่น รังสีบีตา รังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และ Non-
ioning Radiation เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ก่อให้เกิด
มะเร็งผิวหนัง
2.2) สารเคมี เช่น สารโคลชิซีน (Colchicine) มีผลทําให้ชุด
โครโมโซมเพิ่มขึ้นเพื่อให้ พืชมีผลผลิตในเวลาไม่นาน และสารอะฟลาทอก
ซิน (Aflatoxins) เป็นสารพิษที่ทําให้แบคทีเรียกลายพันธุ์ เป็นสาเหตุของ
มะเร็งตับได้
2.3) ไวรัสบางชนิด ทําให้เกิดมะเร็ง
ประเภทของมิวเทชั้น มิวเทชันเกิดกับเซลล์ในร่างกาย 2 ลักษณะ
1) เซลล์ร่างกาย (Somatic Cell) เซลล์ชนิดนี้เมื่อเกิดมิวเทชัน
แล้วจะไม่ถ่ายทอด ไปยังรุ่นต่อไป