Page 37 - ทช21003
P. 37
34
8. ประวัติ ความเป็นมา วัฒนาการ ความหมายของเนื้อเพลงที่ใช้และการแต่งกายประกอบการแสดง
รําวงมาตรฐาน
9. การนําท่ารําวงมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ประกอบกับเพลงอื่น ๆ เพื่อนําไปใช้ในชีวิต
ประจําวันโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม
10. การอนุรักษ์ การละเล่น ตามวัฒนธรรมประเพณี ของภูมิปัญญาทางนาฏศิลป์ ไทยของภาคต่าง ๆ
ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 กําหนดสภาพปัญหาความต้องการ
1. ครูและผู้เรียนร่วมกันสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ ประวัติ ความเป็นมา
และวิวัฒนาการของการแสดงนาฏศิลป์ ไทยประเภทต่าง ๆ รูปแบบ/องค์ประกอบและวิธีการแสดง
นาฏศิลป์ ไทยในแต่ละภาค การแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกต่อการแสดงนาฏศิลป์ ไทย ประโยชน์
และวิธีเลือกชมการแสดงนาฏศิลป์ ไทย ท่ารําและการสื่อความหมายในนาฏศิลป์ ไทย การใช้ท่าทาง
สื่อความหมาย รวมทั้งโอกาสที่ใช้แสดง ประโยชน์และคุณค่าของนาฏศิลป์ ไทยและภาษาท่าที่เกี่ยวข้อง
กับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ประวัติ ความเป็นมา วัฒนาการ ความหมายของเนื้อเพลงที่ใช้และ
การแต่งกายประกอบการแสดงรําวงมาตรฐาน การนําท่ารําวงมาตรฐานไปประยุกต์ใช้ประกอบกับ
เพลงอื่น ๆ เพื่อนําไปใช้ในชีวิต ประจําวันโดยให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม การอนุรักษ์ การละเล่น
ตามวัฒนธรรมประเพณี ของภูมิปัญญาทางนาฏศิลป์ ไทยของภาคต่างๆ
ขั้นที่ 2 แสวงหาข้อมูลและการจัดการเรียนรู้
1. ให้ผู้เรียนศึกษาใบความรู้เรื่องนาฏศิลป์ ไทย
2. ให้ผู้เรียนศึกษาจากสื่อวีดีทัศน์เรื่อง นาฏศิลป์ ไทยเพิ่มเติม
3. ผู้เรียนซักถาม/แสดงความคิดเห็น
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนําไปประยุกต์ใช้
1. ครูให้ผู้เรียนไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนาฏศิลป์ ไทย เพื่อที่จะนําไปใช้ในงาน
ศิลปวัฒนธรรมต่างๆให้เกิดความชํานาญ
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการเรียนรู้
1. ทดสอบย่อย
2. ใบความรู้