Page 39 - ทช21003
P. 39
36
ใบความรู้
ความเป็นมาของนาฏศิลป ์ ไทย
นาฏศิลป ์ คือ ศิลปะการร้องรําทําเพลง ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์ โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีต
และมีแบบแผน ให้ความรู้ ความบันเทิง ซึ่งเป็นพื้นฐานสําคัญที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรือง
ของชาติได้เป็นอย่างดี
ความเป็นมาของนาฏศิลป ์
นาฏศิลป ์ หรือศิลปะแห่งการแสดงละครฟ้อนรํานั้น มีความเป็นมาที่สําคัญ 4 ประการคือ
1. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ให้ปรากฏออกมาโดยมี
จุดประสงค์เพื่อการสื่อความหมายเป็นสําคัญเริ่มตั้งแต่
1.1 มนุษย์แสดงอารมณ์ตามธรรมชาติออกมาตรง ๆ เช่น การเสียใจก็ร้องไห้ ดีใจก็ปรบมือ
หรือส่งเสียงหัวเราะ
1.2 มนุษย์ใช้กริยาอาการเป็นการสื่อความหมายให้ชัดเจนขึ้น กลายเป็นภาษาท่า เช่น กวักมือ
เข้ามาหาตัวเอง
1.3 มีการประดิษฐ์คิดท่าทางให้มีลีลาที่วิจิตรบรรจงขึ้น จนกลายเป็นท่วงทีลีลาการฟ้อนรําที่
งดงามมีลักษณะที่เรียกว่า “นาฏยภาษา”หรือ “ภาษานาฏศิลป ์ ” ที่สามารถสื่อความหมายด้วยศิลปะ
แห่งการแสดงท่าทางที่งดงาม
2. เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีต่าง ๆ ที่นําไปสู่การปฏิบัติเพื่อบูชา
สิ่งที่ตนเคารพตามลัทธิศาสนาของตน ต่อมาจึงเกิดเป็นความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา โดยจะเริ่มจากวิงวอนอธิษฐาน จนมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า ต่าง
ๆ การเล่นดนตรี การร้องและการรํา จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เทพเจ้าเกิดความพอใจมากยิ่งขึ้น
3. เกิดจากการเล่นเลียนแบบของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในขั้นต้นของมนุษย์ ไปสู่การ
สร้างสรรค์ศิลปะแบบต่าง ๆ นาฏศิลป์ ก็เช่นกันจะเห็นว่ามนุษย์นิยมเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์
เองสังเกตจาก เด็ก ๆ ชอบแสดงบทบาทสมมุติเป็นพ่อเป็นแม่ในเวลาเล่นกัน เช่น การเล่นตุ๊กตา การ
เล่นหม้อข้าวหม้อแกง หรือเลียนแบบจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทําให้เกิดการเล่น เช่น การ
เล่นงูกินหาง การแสดงระบําม้า ระบํากาสร ระบํานกยูง ( ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล : ม.ป.ป. )
4. เกิดจากการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ หลังจากการหยุดพักจากภารกิจ
ประจําวัน เริ่มแรกอาจเป็นการเล่านิทาน นิยาย มีการนําเอาดนตรีและการแสดงท่าทางต่าง ๆ ประกอบ
เป็นการร่ายรําจนถึงการแสดงเป็นเรื่องราว