Page 44 - ทช21003
P. 44

41





                                                          ใบความรู้


                                                         นาฏยศัพท์



                            นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์เฉพาะในทางนาฏศิลป์ ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และสื่อ

                     ความหมายกันในวงการนาฏศิลป์ ไทย

                     นาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 หมวด คือ
                            1. หมวดนามศัพท์  หมายถึง ท่ารําสื่อต่างๆ ที่บอกอาการของท่านั้นๆ

                                1.1  วง เช่น วงบน วงกลาง

                                1.2  จีบ เช่น จีบหงาย จีบควํ่า จีบหลัง
                                1.3  ท่าเท้า เช่น ยกเท้า ประเท้า กระดก

                            2.  หมวดกิริศัพท์ คือ ศัพท์ที่ใช้ในการปฏิบัติอาการกิริยา แบ่งออกเป็นศัพท์เสริมและศัพท์เสื่อม

                                       2.1  ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เสริมท่วงทีให้ถูกต้องงดงาม  เช่น  ทรงตัว  ส่งมือ เจียง

                     ลักคอ  กดไหล่ ถีบเข่า เป็นต้น
                                 2.2  ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกท่ารําที่ไม่ถูกระดับมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รํารู้ตัวและ

                     ต้องแก้ไขท่วงทีของตนให้เข้าสู่ระดับ เช่น วงล้า วงตัก วงล้น รําเลื้อย รําลน เป็นต้น

                            3. หมวดนาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด คือ ศัพท์ที่นอกเหนือจากนามศัพท์ กิริยาศัพท์ ซึ่งจัดไว้เป็น
                     หมวดเบ็ดเตล็ด มีดังนี้

                                เหลี่ยม หมายถึง ระยะเข่าทั้งสองข้างแบะออก กว้าง แคบ มากน้อยสุดแต่จะเป็นท่าของ

                     พระ หรือนาง ยักษ์ ลิง เหลี่ยมที่กว้างที่สุด คือเหลี่ยมยักษ์

                                เดินมือ หมายถึง อาการเคลื่อนไหวของแขนและมือ เพื่อเชื่อมท่า
                                แม่ท่า หมายถึง ท่ารําตามแบบมาตรฐาน เช่น แม่บท

                                ขึ้นท่า หมายถึง ท่าที่ประดิษฐ์ให้สวยงาม แบ่งออกเป็น

                                          ก. ขึ้นท่าใหญ่ มีอยู่ 4 ท่า คือ

                                       1) ท่าพระสี่หน้า แสดงความหมายเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่
                                             2) ท่านภาพร แสดงความหมายเช่นเดียวกับพรหมสี่หน้า

                                       3) ท่าเฉิดฉิน แสดงความหมายเกี่ยวกับความงาม

                                             4) ท่าพิสมัยเรียงหมอน มีความหมายเป็นเกียรติยศ
                                         ข. ขึ้นท่าน้อย มีอยู่หลายท่าต่างกัน คือ

                                              1) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบัวบาน อีกมือหนึ่งจีบหลัง

                                              2) ท่ายอดต้องต้องลม
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49