Page 43 - ทช21003
P. 43
40
5. โขนฉาก เป็นรูปแบบโขนที่พัฒนาเป็นลําดับสุดท้าย กล่าวคือเป็นการแสดงในโรง มีการ
จัดทําฉาก เปลี่ยนไปตามเรื่องราวที่กําลังแสดง ดําเนินเรื่องด้วยการพากย์ เจรจา และขับร้อง ร่ายรํา
ประกอบคําร้องมีระบํา ฟ้อนประกอบ
2. ละคร
คือ การแสดงที่เล่นเป็นเรื่องราว มุ่งหมายก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนาน เพลิดเพลิน
หรือเร้าอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ดู ตามเรื่องราวนั้น ๆ ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวคิดคติธรรมและ
ปรัชญา จากการละครนั้น
ประเภทของละครไทย
ละครไทยเป็นละครที่มีพัฒนาการมาเป็นลําดับ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น
ละครไทยจึงมีรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ได้ ประเภทดังต่อไปนี้
1.ละครรํา
2. ละครร้อง
3. ละครพูด
3. การละเล่นพื้นเมือง
การละเล่นพื้นเมืองเป็นการละเล่นในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน แบ่งออกเป็น
ภาคกลางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน แต่ละภาคจะมีลักษณะเฉพาะในการแสดง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
หลายประการได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ประเพณี ศาสนา ความเชื่อและค่านิยม ทําให้เกิดรูปแบบ
การละเล่นพื้นเมืองขึ้นหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการแสดงที่เป็นเรื่องราวของการร้องเพลง เช่น
เพลงเกี่ยวข้าว เพลงบอก เพลงซอ หรือรูปแบบการแสดง เช่น ฟ้อนเทียน เซิ้งกระหยัง ระบําตารีกีปัส
ซึ่งแต่ละรูปแบบนี้จะมีทั้งแบบอนุรักษ์ปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้ดํารงอยู่สืบไป