Page 45 - ทช21003
P. 45

42





                                   3) ท่าผาลาเพียงไหล่

                                   4) ท่ามือหนึ่งตั้งวงบน อีกมือหนึ่งตั้งวงกลาง เหมือนท่าบังสุริยา
                                   5) ท่าเมขลาแปลง คือมือข้างที่หงายไม่ต้องทํานิ้วล่อแก้ว

                            พระใหญ่ – พระน้อย หมายถึง ตัวแสดงที่มีบทสําคัญพอๆ กัน พระใหญ่ หมายถึงพระเอก เช่น

                     อิเหนา  พระราม   ส่วนพระน้อย มีบทบาทเป็นรอง เช่น สังคามาระตา พระลักษณ์

                            นายโรง หมายถึง พระเอก เป็นศัพท์เฉพาะละครรํา
                            ยืนเครื่อง หมายถึง แต่งเครื่องละครรําครบเครื่อง

                            นางกษัตริย์ บุคลิกท่วงทีเรียบร้อย สง่ามีทีท่าเป็นผู้ดี

                            นางตลาด ท่วงทีว่องไว สะบัดสะบิ้งไม่เรียบร้อย เช่น นางยักษ์ นางแมว เป็นต้น

                            ภาษาท่า หมายถึง การแสดงกิริยาท่าทางเพื่อสื่อความหมายแทนคําพูด ส่วนมากใช้ในการ

                     แสดงนาฏศิลป์ และการแสดงละครต่างๆ ภาษาท่าแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
                            1. ท่าทางที่ใช้แทนคําพูด เช่น ไป มา เรียก ปฏิเสธ

                            2. ท่าทางที่ใช้แทนอารมณ์ภายใน เช่น รัก โกรธ ดีใจ เสียใจ

                            3. ท่าแสดงกิริยาอาการหรืออิริยาบถ เช่น ยืน เดิน นั่ง


                            การร่ายรําท่าต่างๆ นํามาประกอบบทร้องเพลงดนตรี โดยมุ่งถึงความสง่างามของลีลาท่ารํา

                     และจําเป็นต้องอาศัยความงามทางศิลปะเข้าช่วย วิธีการใช้ท่าทางประกอบบทเรียน บทพากย์ และ

                     เพลงดนตรีพันทางนาฏศิลป์เรียกว่า การตีบท หรือการรําบท
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50