Page 40 - ทช21003
P. 40
37
ใบความรู้
ประวัตินาฏศิลป ์ ไทย
นาฏศิลป ์ ไทย คือ ศิลปะแห่งการร่ายรําที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย จากการสืบค้นประวัติความเป็นมา
ของนาฏศิลป์ ไทย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ไทย และวัฒนธรรมไทย จากหลักฐานที่
ยืนยันว่านาฏศิลป์ มีมาช้านาน เช่นการสืบค้นในหลักศิลาจารึกหลักที่ 4 สมัยกรุงสุโขทัย พบข้อความว่า
“ระบํารําเต้นเล่นทุกวัน” แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยที่สุด นาฏศิลป์ ไทย มีอายุไม่น้อยกว่ายุคสุโขทัยขึ้นไป
สรุปที่มาของนาฏศิลป ์ ไทยได้ดังนี้
1. จากการละเล่นของชาวบ้านในท้องถิ่น ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อความบันเทิงและความรื่นเริงของ
ชาวบ้าน ภายหลังจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งไม่เพียงเฉพาะนาฏศิลป์ ไทยเท่านั้น ที่มีประวัติเช่นนี้ แต่
นาฏศิลป์ ทั่วโลกก็มีกําเนิดจากการเล่นพื้นเมืองหรือการละเล่นในท้องถิ่น เมื่อเกิดการละเล่นในท้องถิ่น การ
ขับร้องโต้ตอบกันระหว่างฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ก็เกิดพ่อเพลงและแม่เพลงขึ้น จึงเกิดแม่แบบหรือวิธีการที่
พัฒนาสืบเนื่องต่อ ๆ กันไป
2. จากการพัฒนาการร้องรําในท้องถิ่นสู่นาฏศิลป์ ในวังหลวง เมื่อเข้าสู่วังหลวงก็มีการพัฒนา
รูปแบบให้งดงามยิ่งขึ้น มีหลักการ และระเบียบแบบแผน ประกอบกับพระมหากษัตริย์ไทย ยุคสุโขทัย
อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นกวีและนักประพันธ์ ดังนั้นนาฏศิลป์ รวมทั้งการดนตรีไทย จึงมีลักษณะ
งดงามและประณีต เพราะผู้แสดงกําลังแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง และต่อหน้าพระมหากษัตริย์ผู้ที่มีความสามรถ
ในเชิงกวี ดนตรี และนาฏศิลป์ เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่ากษัตริย์แทบทุกพระองค์ทรงเปี่ยมล้นด้วยความสามารถ
ด้านกวี ศิลปะอย่างแท้จริง บางองค์มีความสามารถด้านดนตรีเป็นพิเศษ โดยเฉพาะยุครัตนโกสินทร์
พระมหากษัตริย์ไทยได้แสดงให้โลกได้ประจักษ์ถึงความสามารถด้านนี้ กวีและศิลปะ เช่น รัชกาลที่ 2,
รัชกาลที่ 6 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีจนเป็นที่
ยอมรับของวงการดนตรีทั่วโลก
เอกลักษณ์ของนาฏศิลป ์ ไทย
1. มีท่ารําอ่อนช้อย งดงาม และแสดงอารมณ์ ตามลักษณะที่แท้จริงของคนไทย ตลอดจนใช้ลีลา
การเคลื่อนไหวที่ดูสอดคล้องกัน