Page 48 - ทช21003
P. 48
45
ใบความรู้
เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป ์ ไทย
นาฏศิลป์ ไทย เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ซึ่งนับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่
บรรพบุรุษของเราได้สร้างและสั่งสมภูมิปัญญามาแต่โบราณ เป็นสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติ
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นอารยประเทศของชาติไทยที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน นานาประเทศ
ในโลกต่างชื่นชนนาฏศิลป์ ไทยในความงดงามวิจิตรบรรจง เป็นศิลปะที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์
และสืบทอด แนวทางในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ ไทย
1. การอนุรักษ์รูปแบบ หมายถึง การรักษาให้คงรูปดังเดิม เช่น เพลงพื้นบ้านก็ต้องรักษา
ขั้นตอนการร้อง ทํานอง การแต่งกาย ท่ารํา ฯลฯ หรือหากจะผลิตขึ้นใหม่ก็ให้รักษารูปแบบเดิมไว้
2. การอนุรักษ์เนื้อหา หมายถึง การรักษาในด้านเนื้อหาประโยชน์คุณค่าด้วยวิธีการผลิต
การรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา เช่น เอกสาร และสื่อสารสนเทศต่างๆ
การอนุรักษ์ทั้ง 2 แบบนี้ หากไม่มีการสืบทอดและส่งเสริม ก็คงไว้ประโยชน์ในที่นี้จะขอ
นําเสนอแนวทางในการส่งเสริมเพื่ออนุรักษ์นาฏศิลป์ ไทย ดังนี้
1. จัดการศึกษาเฉพาะทาง ส่งเสริมให้มีสถาบันการศึกษาด้านนาฏศิลป์ จัดการเรียนการสอน
เพื่อสืบทอดงานศิลปะด้านนาฏศิลป์ เช่น วิทยาลัยนาฏศิลป์ สถาบันเอกชน องค์กรของรัฐบางแห่ง ฯลฯ
2. จัดการเรียนการสอนในขั้นพื้นฐาน โดยนําวิชานาฏศิลป์ จัดเข้าในหลักสูตรและเข้าสู่ระบบ
การเรียนการสอนทุกระดับ ตามระบบที่ควรจะให้เยาวชนได้รับรู้เป็นขั้นตอนตั้งแต่อนุบาล – ประถม
มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา ตลอดจนสถาบันการศึกษาทุกระดับ จัดรวบรวมข้อมูลต่างๆ
เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า และบริการแก่ชุมชนได้ด้วย
3. มีการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อโฆษณาต่างๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
โดยนําศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเป็นการสร้างบทบาทของความเป็นไทยให้
เป็นที่รู้จัก
4. จัดเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรม ในรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ แก่หน่วยงานรัฐและเอกชน
โดยทั่วไปทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
5. ส่งเสริมและปลูกฝังมรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายในครอบครัว ให้รู้ซึ้งถึงความเป็นไทย
และอนุรักษ์รักษาเอกลักษณ์ไทย