Page 24 - การให้รหัสโรค
P. 24
13
ี
จนถึงฉบับแปลใหม่ พ.ศ. 2559 แปลไว้เพยง 2 เล่มแรกเท่านั้น เพราะเนื้อหาส่วนใหญ่ของเล่มที่ 3
เป็นชื่อโรคและคำขยายประเภทของโรค ปกติแพทย์คนไทยจะระบุชื่อโรคเป็นภาษาองกฤษ หากแปล
ั
Alphabetical Index ด้วยก็จะเปล่าประโยชน์
ิ
ั
ซึ่ง ICD-10 ฉบับแปลภาษาไทย ได้พมพเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาองกฤษ-ภาษาไทย โดย
์
ภาษาอังกฤษอยู่หน้าซ้าย ส่วนภาษาไทยอยู่หน้าขวา มีประโยชน์ดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ลงรหัสโรคในเวชระเบียนสามารถลงรหัสโรคไม่ผิดพลาด และสอบความเข้าใจกับ
แพทย์ผู้วินิจฉัยโรคได้สะดวก แม้แพทย์จะเขียนชื่อโรคเป็นภาษาอังกฤษ
2. กรณีผู้ป่วยต้องการใบรับรองแพทย์เป็นภาษาไทย หรือต้องการเอกสารจากสถานพยาบาล
ื่
เพอใช้เป็นหลักฐานการเบิกค่ารักษาพยาบาล เจ้าหน้าที่จะสามารถค้นชื่อโรคและลงโรคภาษาไทยได้
รวดเร็วไม่ผิดพลาด
ทั้งนี้ชุดหนังสือที่ใช้ประกอบการให้รหัสโรคส่วนใหญ่ของประเทศจะประกอบด้วย 3 เล่ม มี
ดังนี้
เล่มที่ 1 ตารางการจัดกลุ่มโรค (Tabular List) เล่มที่ 2 ดรรชนีค้นหารหัสโรค
(Alphabetical Index) และเล่มที่ 5 แนวทางมาตรฐานการให้รหัสโรค (Standard coding
guideline) ดังภาพที่ 2.2
Tabular List Alphabetical Index Standard coding guideline
ภาพที่ 2.2 ชุดหนังสือประกอบการให้รหัสโรค
ที่มา: หนังสือเผยแพร่ออนไลน์ ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข
http://thcc.or.th/ebook_shelf.html
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ