Page 21 - การให้รหัสโรค
P. 21
10
2
แนวคิดเกี่ยวกับรหัสโรค (ICD-10)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Objective of learning)
เมื่อศึกษาเนื้อหาในบทนี้จบแล้ว สามารถ:
1. เข้าใจและอธิบายการกำเนิดและการพัฒนาของ ICD-10 รวมถึงประวัติการใช้ ICD-
10 ในประเทศไทยได้
2. เข้าใจและอธิบายเกี่ยวกับความหมายของ ICD-10 ได้
3. เข้าใจและอธิบายชุดหนังสือ ICD-10 ได้
4. เข้าใจและอธิบายคุณลักษณะของรหัส ICD-10 ได้
5. เข้าใจและอธิบายบทต่างๆ ของ ICD -10 และรายละเอียดได้
การกำเนิดและการพัฒนาของ ICD-10
แนวคิดการจัดกลุ่มโรคเป็นหมวดหมู่ เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1785 หรือ ปี พ.ศ. 2328 โดย เริ่ม
ิ
จากผลงานของ De Lacroix ที่องแนวคิดของ Linneus ในการจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิต ต่อมา William Farr
ชาวองกฤษ และ D’espine ชาวสวิส ได้ทดลองจัดกลุ่มโรคที่เป็นสาเหตุการตายเปรียบเทียบกัน
ั
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1900 ปี หรือปี พ.ศ. 2443 Bertillon ชาวฝรั่งเศสได้เสนอแนวคิดการจัดกลุ่ม
ื่
โรคเพอใช้ร่วมกันในระดับนานาชาติ โดยเริ่มจากประเทศในยุโรป 16 ประเทศ ซึ่งผลงานของ
Bertillon นี้อาจถือเป็นต้นกำเนิดของ International Classification of Diseases (ICD-1) ต่อมา
ผลงานของ Bertillon ได้นำมาใช้เป็นหลักการในการจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มโรคร่วมกันในระดับ
นานาชาติ เป็นจุดเริ่มการถือกำเนิดของ ICD-1 และยังได้ไว้วางแนวทางปรับปรุงแก้ไขรายการจำแนก
โรคทุก 10 ปี หลังจากนั้นได้พัฒนา ICD-2 ในปี พ.ศ. 2453 จนถึง ICD-5 ในปี พ.ศ. 2482 ตามลำดับ
องค์การอนามัยโลก หรือ world health organization (WHO) ได้ใช้ ICD-5 ในยุคนั้น เป็น
เครื่องมือหลักในการให้รหัสโรค และเริ่มดำเนินการพัฒนา ICD-6 โดยรวมโรคอนๆ ที่อาจไม่รุนแรงจน
ื่
ื่
ทำให้เสียชีวิต และรวมการบาดเจ็บเข้าไปไว้ด้วยเพอทำให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เนื่องจากโรคและ
ปัญหาการเจ็บป่วยในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ทำให้ความต้องการรหัสโรคที่เหมาะสมของแต่
ื่
ละประเทศจึงแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นประเทศสมาชิกจึงมีแนวคิดในการดัดแปลงรหัส ICD เพอให้
เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทประเทศของตน โดยประเทศแรกที่ทำการดัดแปลง ICD คือ
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ