Page 22 - การให้รหัสโรค
P. 22
11
สหรัฐอเมริกา ซึ่งดัดแปลง ICD-9 เป็น ICD-9-CM (CM ย่อมาจาก clinical modification) หลังจาก
นั้นประเทศออสเตรเลียได้ดัดแปลง ICD-10 เป็น ICD-10-AM (AM ย่อมาจาก Australian
modification) และต่อมาประเทศแคนาดาได้ดัดแปลง ICD-10 เป็น ICD-10-CA (CA ย่อมาจาก
ั
Canadian modification) สำหรับประเทศไทยได้พฒนา ICD-10 เป็น ICD-10-TM (TM ย่อมาจาก
Thai modification) เพื่อให้เหมาะกับลักษณะการเกิดโรคและความเจ็บป่วยของประเทศไทย
จากวิวัฒนาการของการพฒนา ICD-10 ในประเทศไทยนั้นเริ่มใช้บัญชีจำแนกโรคระหว่าง
ั
ประเทศตั้งแต่ฉบับที่ 7 (ICD-7) เมื่อ พ.ศ. 2493 สำหรับการทำสถิติการตายของประเทศ ต่อมาได้
เปลี่ยนมาใช้ ICD-8 และ ICD-9 ในการเก็บสถิติการเจ็บป่วยตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนกระทั่ง พ.ศ. 2537
ประเทศไทย เดนมาร์ก และเช็คโกสโลวะเกียได้เป็นสามประเทศแรกในโลกที่เริ่มใช้ ICD-10 หลังจาก
ื่
นั้นประเทศอนๆ ก็ได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้ ICD-10 ในช่วงแรกประเทศไทยใช้หนังสือ ICD-10 ของ
WHO ฉบับ 2007 ต่อมาปลายปี พ.ศ. 2554 ได้ประกาศใช้ ICD-10-TM ถึงแม้ WHO จะประกาศใช้
ICD-11 แต่หน่วยงานที่รับผิดชอบยังไม่ยังคงไม่ประกาศใช้
ประวัติการใช้ ICD-10 ในประเทศไทย
ประเทศไทยเริ่มใช้ ICD-10 มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
การรักษาผู้ป่วยใน (In-patient) ของระบบประกันสังคม (Social Security Office) ต่อมาได้นำไปใช้
ในการเก็บข้อมูลสถิติผู้ป่วยนอก (Out-patients) และสถิติการตาย (Causes of dead) ของประเทศ
ไทย โดยเน้น “ความครบถ้วนข้อมูล” ต่อมาประเทศไทยได้ประกาศใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและน้ำหนัก
สัมพทธ์ หรือ Diagnosis-related group (DRG) ในปี พ.ศ. 2541 ในการเบิกจ่ายค่าบริการด้าน
ั
สุขภาพในระบบสุขภาพ จึงต้องเพิ่มคุณภาพด้าน “ความถูกต้อง ทันสมัย และการมีรายละเอียดที่ดี”
แนวคิดการดัดแปลง ICD-10 เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มทำการ
แปลหนังสือ ICD-10 เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2 เป็นภาษาไทย และได้จัดพมพเป็นหนังสือ ICD-10 ฉบับ
์
ิ
ั
ไทย-องกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ขณะเดียวกัน ในช่วงดังกล่าว พบการเปลี่ยนแปลงรหัส ICD-10 โดย
แพทย์ของโรงพยาบาลหลายแห่งในประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาล
นราธิวาสราชนครินทร์ เป็นต้น ทำให้การเติมรหัสในตำแหน่งที่ 5 เข้าไปในรหัส ICD-10 เดิม เพอระบุ
ื่
โรคบางชนิดให้ละเอียด มากขึ้นตามความต้องการ
ิ่
อย่างไรก็ตาม การดัดแปลงรหัสดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาในกรณีที่เพมรหัสเข้าไปเป็น
ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เดียวกัน แต่หมายถึงโรคต่างลักษณะกัน ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้ง
ั
คณะทำงานพฒนา ICD-10-TM โดยมีวัตถุประสงค์เป็นหน่วยงานกลางในระดับประเทศ เพอ
ื่
ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพจารณาดำเนินการดัดแปลงรหัส ICD-10 เป็น ICD-10-TM
ิ
โดยกระบวนการที่เป็นระบบ ได้มาตรฐานเดียวกัน และสอดคล้องกับมาตรฐานโลก โดยได้งบประมาณ
สนับสนุนในการดำเนินงานส่วนหนึ่งจากองค์การอนามัยโลกส่วนเอเชียใต้ (WHO-SEARO office)
และอีกส่วนหนึ่งจากสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ