Page 63 - การให้รหัสโรค
P. 63
52
3. ใช้อ้างอิงกลุ่มรหัสย่อยสี่หลักที่ใช้กับกลุ่มรหัสนั้น ซึ่งได้แสดงไว้ก่อนหน้า
ตัวอย่าง: K27 Peptic ulcer, site unspecified
[See before K25 for subdivisions]
ทวิภาค :
ใช้ในรายการข้อความที่รวมถึงและไม่รวมถึง เมื่อคำที่อยู่หน้าเครื่องหมายนี้ไม่ใช่ศัพท์ที่
สมบูรณ์ที่กำหนดไว้สำหรับชื่อรหัสนั้น ต้องการอย่างน้อยอีกหนึ่งคำที่อยู่หลังเครื่องหมายนี้มาขยาย จึง
จะตรงกับข้อกำหนดของชื่อรหัส
ตัวอย่าง: K36 Other appendicitis
Appendicitis:
• chronic
• recurrent
ซึ่งหมายความว่า ใน K36 “ไส้ติ่งอักเสบอื่น” คำวินิจฉัยว่า “ไส้ติ่งอักเสบ” ถูกจำแนก
ในรหัสนี้เฉพาะเมื่อถูกขยายด้วยคำว่า “เรื้อรัง” หรือ “กลับเป็นซ้ำ”
ั
“NOS” อกษรย่อ NOS ย่อมาจาก “not otherwise specified” แปลว่า “มิได้ระบุ
ี
ี
ี
รายละเอยดเป็นอย่างอน” หมายถึง “ไม่ระบุรายละเอยด (unspecified)” หรือ “ไม่มีรายละเอยด
ื่
(unqualified)”
ี
บางครั้งคำที่ไม่มีรายละเอยด อาจถูกจำแนกในชื่อรหัสสำหรับภาวะที่มีความจำเพาะสูงกว่า
เพราะในศัพท์ทางการแพทย์ รูปแบบที่พบบ่อยที่สุดของภาวะใดมักเป็นที่รู้จักกันในนามของภาวะนั้น
และเฉพาะชนิดที่พบได้น้อยกว่าจึงจะมีการระบุรายละเอียด ตัวอย่างเช่น “ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ” มักใช้
หมายถึง “ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบจากรูมาติก” ข้อสันนิษฐานในระบบนี้ถูกนำมาใช้เพอป้องกันการจำแนก
ื่
ิ
ผิด การพจารณาข้อความที่รวมถึงอย่างระมัดระวังจะพบว่าที่ใดให้มีการสันนิษฐานสาเหตุใด ผู้ให้รหัส
ไม่ควรให้รหัสของคำที่ไม่มีรายละเอียด นอกจากจะเป็นที่แน่ชัดว่าไม่มีขอมูลอื่นใดที่จะช่วยให้ได้รหัสที่
้
มีความจำเพาะมากกว่า เช่นเดียวกันในการแปลผลทางสถิติจาก ICD บางภาวะที่ถูกกำหนดในกลุ่มที่มี
ความจำเพาะ อาจไม่ถูกระบุรายละเอยดไว้เช่นนั้นในการบันทึกที่นำมาเข้ารหัส เมื่อเปรียบเทียบ
ี
แนวโน้มในห้วงเวลาและแปลผลทางสถิติ สิ่งสำคัญที่ควรนึกถึงคือข้อสันนิษฐานอาจมีการเปลี่ยน
แปลงแตกต่างกันในการทบทวน ICD แต่ละครั้ง
“NEC” ตัวย่อ NEC ย่อมาจาก “Not elsewhere classified” แปลว่า “มิได้จำแนกไว้ที่
ใด” เมื่อใช้ในชื่อของรหัสสามหลัก เป็นการเตือนว่ารูปแบบที่จำเพาะของภาวะในรายการนั้นอาจถูก
จำแนกไว้ในส่วนอื่น
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ