Page 68 - การให้รหัสโรค
P. 68

57




                             ในทางตรงข้าม ชื่อโรคแต่ละชื่อมีความวัมพันธ์กับรหัส ICD-10 ได้ 2 แบบ คือ
                             1. ชื่อโรคชื่อหนึ่ง ตรงกับรหัส ICD-10 เพียงรหัสเดียว (พบน้อย)
                             2. ชื่อโรคชื่อหนึ่ง ตรงกับรหัส ICD-10 ได้หลายรหัส (พบบ่อย)


                             การที่ชื่อโรคแต่ละชื่อมีรหัสได้หลายรหัส เพราะว่า ICD-10 ไม่ได้กำหนดรหัสมาจากคำ
                                        ี
                      วินิจฉัยของแพทย์เพยงอย่างเดียว แต่ใช้ข้อมูลอนๆ ของผู้ป่วย เช่น เพศ อายุ หญิงตั้งครรภ์ และ
                                                               ื่
                      รายละเอียดอนๆ ของโรคมากำหนดรหัสด้วย ตัวอย่างเช่น แพทย์วินิจฉัย Hypertension เพยงคำ
                                                                                                     ี
                                  ื่
                      เดียว อาจได้รหัส ICD-10 เป็น 3 รหัส ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้คำนั้นๆ ดังนี้
                             คำว่า Hypertension
                             หากพบในหญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตร หรือหลังคลอด         ให้รหัส O16
                             หากพบเพียงโรคเดียวในบุคคลทั่วไป                    ให้รหัส I10

                             หากพบเป็นโรคร่วมกับโรคหัวใจและหลอดเลือด            ให้รหัส I11.9

                             ดังนั้นข้อควรระวังในการให้รหัส ICD-10 คือ อย่าคิดว่าขื่อโรคชื่อใดชื่อหนึ่งตรงกับรหัสโรค
                      เดียวเสมอ


                      การเตรียมข้อมูลก่อนให้รหัส

                             การเตรียมข้อมูลก่อนการให้รหัสจะช่วยให้ได้รหัสโรคมคุณภาพ ทั้งนี้เนื่องจากการให้รหัสโรค
                                                                          ี
                      ไม่ใช่การแปลคำวินิจฉัยโรคให้กลายเป็นรหัส แต่เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมดก่อนที่
                      จะทำการสังเคราะห์โรคทั้งหมดของผู้ป่วยออกมาแล้วเลือกรหัสโรคหลัก โรคร่วม และโรคแทรกซ้อน
                             นอกจากคำวินิจโรคแล้ว การให้รหัสโรคให้ถูกต้อง ครบถ้วน ยังต้องอาศัยบริบทอนๆ ของ
                                                                                                  ื่
                      ผู้ป่วยด้วย จึงต้องเตรียมข้อมูลพื้นฐานก่อนทำการให้รหัสโรค ดังนี้


                      ข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยนอก (OPD และ ER)
                             1. บันทึกบาดแผล ในตำแหน่งต่างๆ เช่น แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น Laceration Wound ควร

                      ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าแผลอยู่ตรงไหน มีจำนวนกี่แผล อาจได้รหัสโรคที่ชัดเจนมากขึ้น
                             2. ประวัติการบาดเจ็บ เป็นข้อมูลที่บางครั้งแพทย์ไม่ได้บันทึกไว้ เช่น ผู้ป่วยเป็นคนขับหรือ
                                                                                      ื่
                      ผู้โดยสาร ยานพาหนะอะไร ไปเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไร หรือหากเป็นบาดเจ็บอนๆ อาจได้ข้อมูลว่าเป็น
                      อุบัติเหตุ หรือการฆ่าตัวตายหรือถูกทำร้ายร่างกาย
                                        ื่
                             3. โรคร่วมอนๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่ผู้ป่วยมารักษาประจำ กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน
                                         ื่
                      โรงพยาบาลในแผนกอนๆ ที่นอกเหนือจากแผนกที่มารักษาอยู่ประจำ แพทย์อาจไม่สรุปโรคไม่ครบ
                      เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มาทำการผ่าตัดต้อกระจกที่แผนกตา แพทย์ผู้ผ่าตัดอาจละเลยหรือ
                      หลงลืมไม่สรุปโรคความดันโลหิตสูงในรายการสรุปการรักษา

                             4. ประวัติการใช้ยา หรือการรักษาในอดีตที่เกิดผลข้างเคียงหรือโรคแทรกซ้อนในคราวนี้ อน
                                                                                                        ั
                      เป็นข้อมูลที่ทำให้ได้โรคที่แตกต่างไป เช่น แพทย์วินิจฉัยโรคเป็น Wound Infection ถ้าได้ข้อมูลว่า
                      เป็นตามหลังการผ่าตัดในครั้งล่าสุดจะทำให้รหัสโรคเปลี่ยนไป





                         HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73