Page 71 - การให้รหัสโรค
P. 71
60
ิ
หรือไม่ ก่อนพจารณาเลือกให้รหัสนั้น เช่น หลายครั้งผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการบอกว่าผู้ป่วยมี
โลหิตจางหรือระดับโซเดียมต่ำ แต่หากแพทย์ผู้รักษาไม่คิดว่าสำคัญ หรือคิดว่าผลการตรวจผิดพลาดก็
ิ
อาจจะไม่ได้ทำการรักษาก็ได้ จึงควรพจารณาให้ดี อาจต้องปรึกษาแพทย์ผู้รักษาในกรณีที่เกิดความ
สงสัยว่าจะใช้ผลการตรวจใดๆ มาเพิ่มเติมรหัสโรคดีหรือไม่
1.3 บันทึกทางการพยาบาล อาจมีคำวินิจฉัยโรคที่ไม่เหมือนการสรุปการวินิจฉัยโรคของ
แพทย์ อาจต้องดูว่าข้อมูลใดชัดเจนมากกว่า แล้วเลือกใช้เฉพาะบางข้อมูล เช่น บางครั้งพยาบาลที่
รักษาผู้ป่วยได้รับคำบอกเล่าจากแพทย์ผู้สั่งรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาว่าผู้ป่วยเป็น UTI เมื่อสิ้นสุดการรักษา
แล้วพบว่าผู้ป่วยเป็น Acute Pyelonephritis กรณีควรตัดข้อมูลเรื่อง UTI ออกไป ไม่ต้องนำมาให้
รหัส
2. การเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน โดยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ อาจให้รายละเอียดเสริม
ข้อมูลจากใบสรุปการรักษาได้ และทำให้ได้รหัสโรคที่มีคุณภาพมากกว่า ตัวอย่างเช่น
2.1 ผลการตรวจทางพยาธิวิทยา อาจให้ข้อมูลเสริมด้านเนื้องอกหรือมะเร็งได้ เช่น ผู้ป่วย
Carcinoma of cervix อาจมีผลตรวจชิ้นเนื้อพบว่าเป็นแบบ Squamous cell carcinoma อาจทำ
ให้ได้รหัสโรคเป็น Carcinoma of exocervix ซึ่งมีความชัดเจนมากกว่า
ี
2.2 ข้อมูลจากบันทึกการผ่าตัด อาจให้รายละเอยดของโรคมากกว่าใบสรุปการรักษา เช่น
แพทย์สรุปการรักษาว่า Burn แต่พบว่าในบันทึกการผ่าตัดบอก Degree และ Percent ของ Burn ไว้
อย่างชัดเจน
ื่
การให้รหัสโรคต้องมีเอกสารเป็นหลักฐานรองรับรหัสทุกตัว เพอเป็นหลักฐานสำหรับการ
ตรวจสอบความถูกต้องเมื่อมีการขอเรียกดู
จริยธรรมวิชาชีพที่สำคัญที่สุดของนักเวชสถิติผู้ลงรหัส คือ การรักษาความถูกต้องของข้อมูล
และคุณภาพของข้อมูล ยึดความถูกต้องของข้อมูลยิ่งกว่าสิ่งอนใด ไม่สร้างข้อมูลเท็จเพอหลอกลวง
ื่
ื่
ผู้อื่น หรือสร้างข้อมูลเท็จเพอเบิกเงินเกินความเป็นจริง นักเวชสถิติผู้ลงรหัสที่มีจริยธรรมวิชาชีพสูงจะ
ื่
ยึดแนวทางเอกสารหลักฐานสนับสนุนการให้รหัส (Document supported coding) เป็นแนวทาง
ทำงานประจำ โดยไม่ยอมให้ใครมาละเมิดหรือชักจูงให้ฝ่าฝืนแนวทางดังกล่าว
แนวทางเอกสารหลักฐานสนับสนุนการให้รหัส ยังป้องกันมิให้ระบบการให้รหัสของ
โรงพยาบาลเป็นไปในทางให้รหัสสูงเกินกำหนด (Over coding) และช่วยรักษาระดับคุณภาพของ
ข้อมูลโรงพยาบาลให้อยู่ในระดับดี
คุณภาพข้อมูลของเอกสารหลักฐานการให้รหัสโรค
แหล่งข้อมูลที่สนับสนุนความถูกต้องของการให้รหัสจะปรากฏอยู่ในเวชระเบียนนั้นเอง โดย
หลักฐานบางรายการสามารถจัดเข้าข่ายแหล่งข้อมูลคุณภาพสูงได้ แต่บางเอกสารมีความน่าเชื่อถือ
น้อยมาก ดังนั้นการให้รหัสจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพข้อมูลของเอกสารต่างๆ เป็นอย่างดี ซึ่ง
สามารถแบ่งกลุ่มแหล่งข้อมูลตามระดับของคุณภาพ ดังนี้
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ