Page 65 - การให้รหัสโรค
P. 65
54
Use additional code (Chapter …), if desired, to….
บางรหัสอาจใช้รหัสเสริม (B95-B96) เพื่อระบุเชื้อต้นเหตุ ซึ่งจะปรากฏอยู่ใต้รหัสนั้นๆ
ตัวอย่าง:
M00.8 Arthritis and polyarthritis due to other specified
bacterial agents
Use additional code (B95-B96), if desired, to identify bacterial
agent.
ื่
โปรดสังเกตว่า รหัสเสริมช่วง B95-B96 ใช้เพอระบุเชื้อต้นเหตุเท่านั้น ไม่สามารถใช้เป็นโรค
หลักได้
คำอธิบายเพิ่มเติม (Annotations)
ื่
+ เครื่องหมาย “กริซ (Dagger)” ใช้กำกับรหัสเพอแสดงว่าภาวะนั้นเป็นสาเหตุของโรค และ
จำเป็นต้องใช้ร่วมกับและอยู่หน้าต่อรหัสที่อธิบายการแสดงของโรคทคู่กัน
ี่
*เครื่องหมาย “ดอกจัน (Asterisk)” ใช้กำกับรหัสที่อธิบายการแสดงของโรค และจำเป็นต้อง
ใช้คู่กับ และตามหลังรหัสที่เหมาะสมซึ่งแสดงสาเหตุของโรคนั้น
# เครื่องหมายนี้ใช้กำกับหน้ารหัสที่มีการดัดแปรไม่ว่าในส่วนใด ให้แตกต่างไปจาก ICD-10
ขององค์การอนามัยโลก
สรุป
ผู้ให้รหัสจำเป็นต้องทราบและเข้าใจโครงสร้างและระบบการจัดกลุ่มรหัส ICD-10 ซึ่งมี
ความสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยให้ผู้ให้รหัสโรคให้รหัสได้อย่างถูกต้องตรงตามหลักการให้รหัส มี
อยู่ 4 ระบบ ได้แก่ 1) การจัดกลุ่มรหัสโรคตามลักษณะความต้องการใช้บริการ 2)การจัดกลุ่มรหัสโรค
ตามลักษณะผู้ป่วย 3) การจัดกลุ่มรหัสโรคตามสาเหตุของโรค และ 4) การจัดกลุ่มรหัสโรคตามอวัยวะ
ที่เป็นโรค สำหรับหลักการจัดหมวดหมู่โรคมีข้อยกเว้นถ้าเป็นหญิงตั้งครรภ์ปกติจะให้รหัส O แต่ในบาง
กรณีต้องกลับไปใช้ในหมวดอนเหมือนกับประชาชนทั่วไป เช่น บาดเจ็บหรือเกิดอบัติเหตุระหว่าง
ุ
ื่
ตั้งครรภ์หรือโรคบาดทะยักที่เกิดขึ้นหลังการคลอด นอกจากนี้การให้รหัส ผู้ให้รหัสต้องให้รหัสที่มี
สมาชิกกลุ่มห้ามให้รหัสกลุ่มซึ่งจะมีสีดำระบายที่ตัวเลขรหัสกลุ่ม กรณีกลุ่มรหัสที่ไม่มีสมาชิกกลุ่มจะมี
ิ
กรอบสี่เหลี่ยมสีขาวล้อมเลขรหัสกลุ่มสามารถใช้ได้ ใน ICD-10 มีคำอธิบายชื่อโรคหรือภาวะที่พมพ ์
ิ
ิ
ด้วยตัวพมพหนาหมายถึงโรคหรือภาวะที่ใช้เป็นชื่อรหัส ขณะที่ชื่อโรคหรือภาวะที่พมพด้วยพมพบาง
์
์
์
ิ
หมายถึงโรคหรือภาวะที่ใช้รหัสเดียวกันกับโรคหรือภาวะที่เป็นชื่อโรค ขณะที่แนวคิดการกำหนดรหัส
และจัดเรียงรหัสในกลุ่มรหัสจะให้โรคที่มีความสำคัญ พบบ่อย และมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะจัดไว้ใน
รหัสช่วงแรก ส่วนคำอธิบายในระดับกลุ่มรหัสจะครอบคลุมและใช้กับรหัสโรคทุกตัวที่อยู่ในกลุ่มนั้น
เช่นเดียวกับคำอธิบายต้นหมวดจะครอบคลุมทุกกลุ่มรหัสและทุกรหัสในหมวดนั้น และคำอธิบายต้น
บทจะครอบคลุมทุกหมวด ทุกกลุ่มรหัส และทุกรหัสในบทนั้น จะเห็นว่ารหัสโรคส่วนใหญ่เป็นรหัสที่ยัง
ไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามจะมีเครื่องหมายวงเล็บสี่เหลี่ยม [ ] ที่ทำหน้าที่ชี้แนะตำแหน่งที่ผู้ให้รหัส
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ