Page 84 - การให้รหัสโรค
P. 84
73
Chronic Renal Failure ประกอบด้วย 3 คำ
Acute Otitis Media ประกอบด้วย 3 คำ
Acute gastroenteritis ประกอบด้วย 2 คำ
อย่างไรก็ตามคำหลักในแต่ละโรคมักมีเพียงหนึ่งคำ เป็นคำที่บอกว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร เช่น
Chronic Renal Failure คำหลักคือ Failure
Acute Otitis Media คำหลักคือ Otitis
Acute gastroenteritis คำหลักคือ gastroenteritis
การเลือกคำหลักได้อย่างถูกต้อง จะทำให้เปิดหารหัสในดรรชนีได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม
หากคำเลือกคำหลักผิด ผู้ให้รหัสโรคมักพบว่าในหนังสือดรรชนีจะมีคำแนะนำให้ เปลี่ยนคำ ในลักษณะ
คำชี้แนะ ได้แก่ คำว่า see, see also หรือ see condition ดังตารางที่ 4.1
ตารางที่ 4.1 คำชี้แนะ ความหมาย และตัวอย่าง
คำชี้แนะ ความหมาย ตัวอย่าง
see เปลี่ยนคำหลักที่ใช้เป็น Candidosis -see Candidiasis
คำอื่น ผู้ให้รหัสต้องค้นหารหัส โดยใช้คำว่า Candidiasis แทน
Candidosis
see also ควรค้นหาคำอื่นด้วย Osteoarthritis-see also Arthrosis
อาจได้รหัสที่ถูกต้องกว่า ผู้ให้รหัสควรเปิดหารหัสภายใต้คำ Arthrosis ด้วย
see condition คำที่ใช้เป็นคำขยาย Active-see condition
ไม่ใช่คำหลัก ต้องเลือก คำว่า Active แปลว่าอาการของโรคยังคงอยู่ เป็นคำ
คำใหม่มาทำการค้นหา ขยายไม่ใช่คำหลัก
Chronic-see condition
คำว่า Chronic แปลว่าเรื้อรัง เป็นคำขยายไม่ใช่คำหลัก
ในกรณีที่เลือกคำหลักแล้ว ยังไม่สามารถเปิดพบคำนั้นในหนังสือดรรชนี อาจต้องเปลี่ยนคำ
เป็นคำกว้างๆ ที่นิยมใช้ เช่น กรณีบาดเจ็บอาจต้องใช้คำว่า injury เป็นคำหลักแทน กรณีเป็นโรคติด
เชื้อ ใช้คำว่า infection เป็นคำหลักแทน และกรณีโรคทั่วไป อาจจะใช้คำว่า disease เป็นคำหลัก
แทน ซึ่งหากใช้คำแทนในลักษณะนี้ค้นหารหัสได้แล้ว ต้องตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมในหนังสือเล่ม
ที่ 1 เสมอ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการให้รหัสโรค
4. ใช้คำหลักเป็นคำตั้งต้นในการค้นหารหัสจากดรรชนีค้นหารหัสโรค เล่มที่ 2
เมื่อเลือกคำหลักได้แล้วให้ใช้คำหลักนั้นมาค้นหารหัส เปิดหนังสือดรรชนี ส่วนที่ 1 โดย
ั
ั
หนังสือดรรชนีรหัสโรค (Alphabetical index) จะเรียงคำหลักตามลำดับตัวอกษรภาษาองกฤษใน
พจนานุกรม ตั้งแต่ A-Z ดังนั้นหลักการค้นหารหัสจึงใช้หลักการเดียวกันกับการค้นหาคำศัพท์ใน
HM 4633 การให้รหัสโรค ดร.อมรรัตน์ ลือนาม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ