Page 141 - งานจักรยานยนต์
P. 141
137
หน่วยที่ 9 การตรวจซ่อมแบตเตอรี่ และระบบสตาร์ต
บทน า
การสตาร์ตเครื่องยนต์จักรยานยนต์ จะต้องท้าให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน การหมุน
ของเพลา ข้อเหวี่ยงจะท้าให้เกิดการอัดตัวของส่วนผสมไอดีในกระบอกสูบ และท้าให้
เครื่องยนต์เริ่มท้างาน การท้าให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนมี 2 วิธี ที่ใช้กัน คือการสตาร์ตด้วย
เท้า (Kick Starter) และสตาร์ตด้วย มอเตอร์สตาร์ต (Starter Motor)
1. การสตาร์ตด้วยเท้า (Kick-type Starter System)
การสตาร์ตด้วยเท้าใช้การเหยียบคันสตาร์ตลง ท้าให้แรงบิดส่งไปที่เพลาข้อ
เหวี่ยงของเครื่องยนต์ บางแบบแรงบิดจะส่งไปที่ชุดคลัตช์ ส้าหรับการท้างานแบบส่งไป
ที่ชุดคลัตช์ ถ้าคลัตช์ไม่อยู่ในต้าแหน่ง ท้างาน เครื่องยนต์ก็จะไม่หมุน ซึ่งจะต้องปล่อยที่
บีบคลัตช์ให้อยู่ในต้าแหน่งปกติ
2. การสตาร์ตด้วยมอเตอร์สตาร์ต
มอเตอร์สตาร์ตมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น แบบแม่เหล็กถาวรและ
แม่เหล็กไฟฟ้าชนิดที่ เคลื่อนเข้าออกได้ ในที่นี จะกล่าวถึงชนิดเฟืองขบคงที่ (Constant-
mesh Type) เป็นเฟืองหัวเพลาทุ่นมอเตอร์สตาร์ต ส่งก้าลังผ่านเฟืองสะพานสตาร์ตไป
ยังเฟืองสตาร์ต คลัตช์ทางเดียว (One-way Clutch) ส่งก้าลังขับเพลาข้อเหวี่ยง เพื่อ
สตาร์ตเครื่องยนต์
มอเตอร์สตาร์ตแบบแม่เหล็กไฟฟ้าและชุดเฟืองสตาร์ต (SUZUKI)