Page 35 - จราจร
P. 35
๒๘
(๔) รายงานการกระทําความผิดของผูขับรถ การชํารุดเสียหาย ขอขัดของ
ของเครื่องหมายและสัญญาณจราจร ใหเจาหนาที่ตํารวจทราบเพื่อดําเนินการตอไป
(๕) แจงอุบัติเหตุจราจรใหพนักงานเจาหนาที่ทราบเพื่อดําเนินการโดยไม
ชักชา
จากขอกําหนดดังกลาว อาสาจราจรจึงมีหนาที่เปนเพียงผูชวยเหลือ
การปฏิบัติงานของเจาพนักงานจราจรตามแตเจาหนาที่จะมอบหมายโดยมีหนาที่เพียง ๕ ประการ
ตามที่กําหนด แตอาสาจราจรก็ไมมีอํานาจในการจับกุมผูกระทําผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
พ.ศ.๒๕๒๒ แตอยางใด ถึงแมมาตรา ๑๓๗ จะไดกําหนดใหอาสาจราจรเปนเจาพนักงานตามกฎหมาย
อาญาก็ตาม
๓. อํานาจของหัวหนาเจาพนักงานจราจรในการออกประกาศ ขอบังคับ
หรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจร (มาตรา ๑๓๙)
มาตรา ๑๓๙ เปนบทบัญญัติที่ใหอํานาจแกหัวหนาเจาพนักงานจราจรในการ
อํานวยความสะดวกและความปลอดภัยในการจราจรในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดก็ได หัวหนา
เจาพนักงานจราจรจึงไดอาศัยอํานาจตามมาตรานี้ออกประกาศขอบังคับ หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการ
จราจรไวหลายเรื่อง
“มาตรา ๑๓๙ ในทางสายใดหรือเฉพาะทางตอนใดที่หัวหนาเจาพนักงานจราจร
เห็นวาถาไดออกประกาศขอบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจราจรแลวจะเปนการปลอดภัยและสะดวก
ในการจราจรใหหัวหนาเจาพนักงานจราจรมีอํานาจออกประกาศ ขอบังคับ หรือระเบียบดังตอไปนี้
(๑) หามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน
(๒) หามหยุดหรือจอด
(๓) หามเลี้ยวรถ กลับรถ หรือถอยหลังรถ
(๔) กําหนดใหรถเดินไดทางเดียว
(๕) กําหนดระยะเวลาจอดรถในทางแคบหรือที่คับขัน
(๖) กําหนดอัตราความเร็วของรถในทางภายในอัตราที่กําหนดในกฎกระทรวง
(๗) กําหนดชองหรือแนวทางเดินรถขึ้นและลอง
(๘) กําหนดทางเดินรถทางเอกและทางเดินรถทางโท
(๙) กําหนดการจอดรถหรือที่จอดพักรถ
(๑๐) กําหนดระเบียบการใชทางหรือชองเดินรถสําหรับรถบางประเภท
(๑๑) กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการใชรถโรงเรียน
(๑๒) กําหนดระเบียบเกี่ยวกับการบรรทุกคนโดยสารสําหรับรถจักรยาน
(๑๓) ควบคุมขบวนแหหรือการชุมนุมสาธารณะ
(๑๔) ควบคุมหรือหามเลี้ยวรถในทางรวมทางแยก