Page 53 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 53
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
ขั้นตอนการท างาน (Non-Procedural) เพียงแต่สั่งให้ว่าต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ตาม
ต้องการ เช่น ตัวอย่างภาษาที่ 4 คือ ชุดค าสั่งภาษา SQL (Structured Query Language)
1.5 ภาษาเชิงวัตถุ (Object-Oriented Languages) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ยุคที่ 5 เป็น
การเขียนโปรแกรมแบบ OOP (Object-Oriented Programming) คือ ให้มองทุกสิ่งเป็นวัตถุ (Object) ซึ่ง
วัตถุประสงค์จะประกอบด้วยข้อมูล (Data) และวิธีการ (Method) โดยจะมีคลาส (Class) เป็นตัวก าหนด
คุณสมบัติของวัตถุรวมทั้งความสามารถในการถ่ายทอดคุณสมบัติ (Inheritance) การปิดซ่อนข้อมูล
(Encapsulation) และการน ากลับมาใช้ใหม่ (Reusability) ภาษาเชิงวัตถุสามารถน ามาพัฒนาระบบงานที่มี
ความซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ภาษาเชิงวัตถุ Visual Basic, C++ และ JAVA เป็นต้น
2. ความหมายของซอฟต์แวร์ (Software)
ซอฟต์แวร์ คือ กลุ่มค าสั่ง (Instruction) หรือโปรแกรมที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ท างาน เพื่อ
ประมวลผลตามที่ผู้ใช้ต้องการ หากไม่มีซอฟต์แวร์เครื่องก็ไม่สามารถท างานได้ เช่น บริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์
เสร็จจะต้องเขียนโปรแกรมควบคุมเครื่อง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ที่ผลิตขึ้นมานั้นสามารถเปิดใช้งานได้ด้วย
โปรแกรมควบคุมการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องจะเปิดใช้งาน ดังนั้น ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็น
และมีความส าคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์
3. ประเภทของซอฟต์แวร์
ประเภทของซอฟต์แวร์ใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
ภาพที่ 1 ประเภทของซอฟต์แวร์
ที่มา: sites.google, ม.ป.ป., [ออนไลน์].
ประเภทซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรม
1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) หรือ โปรแกรมระบบ คือโปรแกรมที่ท าหน้าที่
ควบคุมการท างานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้กับเครื่อง
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 51