Page 54 - คู่มือหลักสูตรมาตรฐานอาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
P. 54
การพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์
มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
สาขาเครือข่ายและความปลอดภัย (Network & Security)
คอมพิวเตอร์ และระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System) กับโปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หรือ โปรแกรมประยุกต์ คือชุดของ
โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อการใช้กับงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ แบ่งออกเป็น 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมใช้งาน
เฉพาะด้าน (Operationg System) กับโปรแกรมใช้งานทั่วไป (Genera-Purpose)
4. ความหมายและหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1) ความหมายของระบบปฏิบัติการด้าน (Operationg System) เรียกสั้น ๆ ว่าโอเอส (OS) คือ
โปรแกรมที่ส าคัญมาก ประกอบด้วยชุดโปรแกรมที่ท าหน้าที่ในการควบคุมดูแลการด าเนินการต่าง ๆ ภายใน
ระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางในการประสานงานการท างานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อ
ตอบสนองต่อผู้ใช้งานให้มีประสิทธิภาพระบบปฏิบัติการที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันในทุกวันนี้จะประกอบไปด้วยแพลตฟอร์มของเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนี้
1.1 พีซีคอมแพเทเบิล (PC-Compatable) เป็นกลุ่มเครื่องพีซีที่ใช้งานมากที่สุด ใช้ซีพียู
สถาปัตยกรรมของอินเทล (Intel) และเอเอ็มดี (AMD) ที่ใช้ระบบปฏิบัติการบนวินโดวส์แพลตฟอร์ม
1.2 พีซีแมคอินทอช และแมคโอเอส (Mac OS) เป็นพีซีคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในตระกูลของ
แอปเปิลคอมพิวเตอร์ เช่น Power Back, iMac และ iBook Computer เครื่องพีซีแอปเปิลจะขึ้นอยู่กับ
แพลตฟอร์มของแอปเปิลโดยเฉพาะโดยใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าแมคโอเอส (MacOS) โดยโปรเซสเซอร์ที่
ใช้เป็นชิปของโมโตโรลา
1.3 ลีนุ๊ก (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Source) โดยลีนุกซ์สามารถใช้งาน
บนหลายแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มบนสถาปัตยกรรมของอินเทลโปรเซสเซอร์ หรือโมโตโรลา
โปรเซสเซอร์
2 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการ หากพิจารณาถึงรายละเอียด
ต่าง ๆ จะมีการค านวณมากมายในที่นี้จะขอกล่าวถึงหน้าที่หลัก ๆ ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย
2.1 ช่วยในการบูตเครื่อง (Boot/Bootstrap)
บูต (Boot) เป็นการบรรจุโปรแกรมระบบปฏิบัติการลงในหน่วยความจ า (RAM) การ
เปิดเครื่องขณะที่เครื่องปิดอยู่จะเรียกกันว่า “โคลด์บูต: Cold Boot” และกรณีที่เปิดเครื่องใช้งานอยู่ แล้วกด
ปุ่มรีเซต(Reset) หรือกดปุ่มคีย์บอร์ด Ctrl+Alt+Del พร้อมกันเรียกว่า “วอร์มบูต: Warm Boot” เพื่อเป็น
การบูตโปรแกรมระบบปฏิบัติการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจึงสามารถโต้ตอบกับระบบเพื่อสั่งงานได้
โดยในระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะมีรูปแบบการโต้ตอบกับผู้ใช้งานในลักษณะของกราฟิก Graphics User
Interface (GUI) ส่วนระบบปฏิบัติการดอส/ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จะมีรูปแบบการตอบโต้ตอบในลักษณะ
แบบเท็กซ์โหมด (Text Mode) คือพิมพ์ค าสั่งตรงเครื่องหมายพร้อมท์ (Command line) คือมีการติดต่อกับ
ผู้ใช้งานในลักษณะของข้อความด้วยการพิมพ์ค าสั่งทีละบรรทัด
รายงานการพัฒนาองค์ความรู้และอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ หน้า 52